หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมุห์พรเลิศ วิสุทฺธสีโล (ไกรจรัส)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๖ ครั้ง
การศึกษามรรคมีองค์ ๘ เพื่อการบรรลุธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระสมุห์พรเลิศ วิสุทฺธสีโล (ไกรจรัส) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีสุตาภรณ์
  สุรพงษ์ คงสัตย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

                 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามรรคมีองค์ ๘            ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท  วิธีการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา       เถรวาท และมรรคมีองค์ ๘ เพื่อการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท มีดังนี้

                 มรรคมีองค์ ๘ จึงเป็นหลักธรรมที่แสดงถึงทัศนะและปัญญา โดยให้เดินทางสายกลาง อันนำไปสู่ความสงบและความหลุดพ้น มีอยู่ ๘ ประเภท คือ () สัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจถูกต้อง  () สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง  () สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง () สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง () สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง () สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง () สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง และ () สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง เป็นหลักธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติทางจิตจึงละเอียดอ่อนลึกซึ้งมากกว่าหลักธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติทางกาย  ถ้ามองมรรค    ตามนัยพระพุทธศาสนา คือสิกขา    ได้แก่  ศีล  สมาธิ  และปัญญาผู้เจริญตามมรรคมีองค์ ๘ บริบูรณ์แล้วย่อมได้จึงเป็นเหตุให้เกิดวิชชา  คือ  ความรู้   ความรู้ทั่วถึงตามความเป็นจริง    มีลักษณะสามารถตัดอวิชชาให้ขาดสิ้น วิชชาเปรียบเหมือนแสงสว่าง  เพราะเป็นแสง สว่างที่ส่องทางดำเนิน  เพื่อความหลุดพ้นทุกข์ทั้งในปัจจุบัน  และอนาคตได้   ซึ่งก็มีศัพท์ที่เป็นชื่อใช้แทนกันได้ เช่น ญาณ ปัญญา วิปัสสนา  และสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น

     วิธีการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทโดยสรุปแบ่งออกเป็น ๘ ประเด็น คือ (๑) การปฏิบัติตามหลักสัมมาทิฏฐิ คือ ใช้ปัญญาพิจารณา เช่น เห็นว่าเรามีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องความจริงของทุกสิ่งที่มีชีวิต  ทำดีย่อมได้ และทำชั่วต้องได้รับชั่ว เป็นต้น      (๒) การปฏิบัติตามหลักสัมมาสังกัปปะคือ ความดำริชอบ เช่น ความดำริในการออกจากกาม       เป็นต้น () การปฏิบัติตามหลักสัมมาวาจา คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนางดเว้นจากวาจาส่อเสียด    เป็นต้น () การปฏิบัติตามหลักสัมมากัมมันตะ คือ การกระทำชอบหรือการงานชอบ คืองดเว้นจากการฆ่า  หรือ การเบียดเบียน เป็นต้น  () การปฏิบัติตามหลักสัมมาอาชีวะ คือ การประกอบอาชีพที่สุจริต  การทำมาหาเลี้ยงชีพในทางสุจริตไม่หลอกลวงหรือโกงคนอื่น                  () การปฏิบัติตามหลักสัมมาวายามะ คือ เพียรชอบหรือพยายามชอบ เช่น เพียรพยายามป้องกันไม่ให้บาปเกิดขึ้นภายในจิต เพียรเพื่อจะละหรือกำจัดอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป  เพียรเพื่อจะเจริญกุศลธรรมให้เกิดขึ้น และ เพียรรักษากุศลที่สร้างให้บังเกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม () การปฏิบัติตามหลักสัมมาสติ คือ ให้ใช้สติเป็นเครื่องพิจารณา ๔ ฐาน คือ กาย  เวทนา จิต  และธรรม เพื่อกำจัดอภิชฌาและโทมนัสออกจากจิต () การปฏิบัติตามหลักสัมมาสมาธิ คือ ให้ปฏิบัติตามหลักกัมมัฏฐาน ๔๐ กลอง ให้เลือกกลองใดกลองหนึ่งก็ได้ ให้กำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งสิ่งเดียวที่เรียกว่า จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านซัดส่ายไปหาสิ่งอื่นหรืออารมณ์อื่นวิธีการที่จะทำให้มีอารมณ์เดียวก็โดยการหาวัตถุอะไรสักอย่างหนึ่งหรือหาอารมณ์อะไรสักอย่างหนึ่งมาให้จิตฝึกในการที่จะกำหนดแน่วแน่เรียกว่า วิธีการฝึกสมาธิ

     การบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนามี ๔ ประเภท คือ (๑) สรุปความว่าโสดาบันบุคคล คือ เป็นอริยบุคคลประเภทแรกที่ได้สัมผัสกระแสพระนิพพาน  พระโสดาบันสามารถละสังโยชน์ได้    คือ  )  สักกายทิฏฐิ  ความเห็นผิดว่ามีตัวตน  )  วิจิกิจฉา  ความสงสัยในพระพุทธเจ้า       )  สีลัพพตปรามาส  ความยึดมั่นในศีลพรต  (๒) สกทาคามีบุคคล คือ ผู้ละกิเลสได้เหมือนพระโสดาบันคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส  แต่ทำราคะ โทสะ โมหะ เหลือเบาบางยิ่งขึ้น (๓) อนาคามีบุคคลกำจัดสังโยชน์เบื้องต่ำได้ ๕ ประการ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา  สีลัพพตปรามาส และละกิเลสได้เพิ่มขึ้นอีก ๒ อย่าง คือ กามราคะ และปฏิฆะ  (๔) พระอรหันต์ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ อย่าง ทั้งที่เป็นสังโยชน์เบื้องสูง และสังโยชน์ที่เป็นกิเลสอย่างละเอียด ทรงละได้หมดทุกประการ การปฏิบัติตามหลักหลักอริยสัจ ๔  หลักไตรสิกขา และทางสายกลาง   เพื่อทำลายสิ่งมาขัดขวางการปฏิบัติตามหลักมรรคมีองค์ ๘ เช่น  นิวรณ์ และ สังโยชน์ให้สิ้นไปจากจิต ดังนั้นผู้ปฏิบัติตามหลักมรรคมีองค์ ๘ เพื่อบรรลุธรรม เป็นการทำเหตุที่ให้เกิดสุข เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์การนำหลักมรรคมีองค์ ๘ ไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิต เป็นหลักธรรมเพื่อนำไปบริหารประเทศ บุคคลในสังคมก็จะเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้สังคมเห็นว่า หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีความสำคัญ ช่วยสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น เป็นหลักคำสอนไม่ให้ใช้ความรุนแรง เพื่อให้เกิดความสงบสุขกับตนเอง คลอบครัว และในสังคม

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕