หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ชูชีพ กลิ่นโท
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๒ ครั้ง
ความพึงพอใจในการให้บริการตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขนครสวรรค์ จำกัด
ชื่อผู้วิจัย : ชูชีพ กลิ่นโท ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี
  วรกฤต เถื่อนช้าง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

                                                         บทคัดย่อ  

 

การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจในการให้บริการตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขนครสวรรค์ จำกัด มีวัตถุประสงค์  ๑) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการให้บริการของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขนครสวรรค์ จำกัด ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการให้บริการตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขนครสวรรค์ จำกัด โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เสนอแนวทางการพัฒนาการให้บริการตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ต่อสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขนครสวรรค์ จำกัด เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการบริการ

ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔  ได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับหลักการให้บริการ หลักความพึงพอใจ  หลักสหกรณ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้กำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย(Conceputual Framework) ประกอบด้วยตัวแปรต้น  (Independent Variables) ได้แก่ข้อมูลทั่วไปของสมาชิกและตัวแปรตาม(dependent Variables) ได้แก่ระดับความพึงพอใจในการให้บริการตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขนครสวรรค์ จำกัด ในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (SurveyResearch) ผู้วิจัยใช้สมาชิกที่สังกัดเฉพาะในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จำนวน  ๒๗๐ คน เป็นกลุ่มประชากรตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง(Purposive Sampling)  ใช้การเปรียบเทียบจากตารางสำเร็จของ V.R.Krejcieและ D.W.Morgan ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ที่มีลักษณะเป็นชนิดปลายปิด (Close ended Questionnaire)และชนิดปลายเปิด (Open ended Questionnaire) หาค่า IOC ได้มากกว่า ๐.๕๐ทุกข้อ ได้ค่าความเชื่อมั่นหรือค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ ๐.๙๕๓ นำแบบสอบถามที่ผ่านการปรับปรุงแล้วไปใช้กับกลุ่มประชากรตัวอย่าง

             การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากสมาชิกผู้ตอบแบบสอบถามนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติวิเคราะห์ความถี่ สถิติวิเคราะห์ค่าร้อยละ  สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย  ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าเอฟ ที่มีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ ( ค่า F-test , sig .๐๕ )  วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-Test / One Way ANOVA)  เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะต้องทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยใช้วิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด ด้วยวิธีของ Scheffe

              ผลการวิจัยพบว่า

                 ๑) สภาพส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มอายุระหว่าง ๓๐ - ๕๐ ปีมีจำนวนมากกว่ากลุ่มอายุอื่น  กลุ่มระดับการศึกษาปริญญาตรีมีจำนวนมากกว่ากลุ่มระดับการศึกษาอื่น กลุ่มตำแหน่งราชการ /ราชการบำนาญ มีจำนวนมากกว่ากลุ่มตำแหน่งราชการ /ราชการบำนาญอื่น กลุ่มระยะเวลาการเป็นสมาชิกมากกว่า ๒๐ ปีมีจำนวนมากกว่ากลุ่มระยะเวลาการเป็นสมาชิกอื่นและกลุ่มที่รายได้น้อยกว่า ๒๐,๐๐๐ บาท มีจำนวนมากกว่ากลุ่มอื่น

                 ๒) ระดับความพึงพอใจของสมาชิกในการให้บริการตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าสมาชิกมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นกัน

                 ๓) เปรียบเทียบความพึงพอใจของสมาชิกในการให้บริการตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ โดยจำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ระยะเวลาการเป็นสมาชิก และรายได้ที่แตกต่างกัน สมาชิกมีความพึงพอใจในการให้บริการแตกต่างกัน

               ๔) ปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ของสหกรณ์ที่พบมากที่สุดแต่ละด้านมีดังนี้ ๑)ด้านทาน เจ้าหน้าที่สหกรณ์บางคนไม่เต็มใจและไม่ใสใจในการให้บริการ  ๒) ด้านปิยวาจา เจ้าหน้าที่สหกรณ์บางคนพูดจาไม่เพราะ ไม่สร้างสรรค์ และยังไม่ประทับใจสมาชิก             ๓) ด้านอัตถจริยา สหกรณ์ให้ประโยชน์หรือความร่วมมือกับสมาชิกบางเรื่องยังไม่ดีเท่าที่ควรและยังไม่เสมอภาค และ ๔) ด้านสมานัตตตา เจ้าหน้าที่สหกรณ์บางคน ทำวางตนยังไม่เหมาะสม วางตนเหมือนนาย ไม่ค่อยเป็นกันเอง และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสมาชิกน้อยไป

             แนวทางเพื่อการพัฒนา

                 จากผลการวิจัย ระดับความพึงพอใจของสมาชิกในการให้บริการตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ของสหกรณ์ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก แสดงให้เห็นว่าการให้บริการของสหกรณ์ยังมีข้อบกพร่องสหกรณ์จะต้องมีการแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไปอีก ผู้วิจัยได้น้อมนำหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ เสนอเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาดังนี้  ๑) ด้านทาน  ผู้ให้ควรจะให้ด้วยความเอื้อเฟื้อและจริงใจ      ๒) ด้านปิยวาจา ผู้พูดควรจะพูดด้วยวาจาที่ไพเราะ น่าฟัง สร้างสรรค์และมีประโยชน์ ๓) ด้านอัตถจริยา คือการทำประโยชน์ให้แก่สมาชิก สหกรณ์ควรจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและความเสมอภาคเท่าเทียมกันเป็นสำคัญ  ๔) ด้านสมานัตตตา คือเจ้าหน้าที่สหกรณ์ทุกคนควรจะวางตนให้เหมาะสม เสมอต้นเสมอปลาย มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสมาชิกและให้ถือเสมอว่าสมาชิกคือบุคคลสำคัญที่สุดขององค์กร

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕