หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ภานุวัฒน์ ราชสมัคร
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๒ ครั้ง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันปราบปราม ของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ภานุวัฒน์ ราชสมัคร ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๑/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุรพล สุยะพรหม
  ยุทธนา ปราณีต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาถึงระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันปราบปรามของข้าราชการตำรวจ ๒) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันปราบปรามของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาท ๔ กับแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันปราบปรามของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และ ๔) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันปราบปรามของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

          วิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการตำรวจ ในสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน ๑๐๔ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของแรงจูงใจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมอิทธิบาท ๔ กับแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันปราบปรามของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ วิเคราะห์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์จำนวน ๗ ท่าน โดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

          ผลการวิจัยพบว่า

          ๑) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันปราบปรามของข้าราชการตำรวจตามหลักอิทธิบาท ๔ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=๓.๙๕) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ ด้านวิมังสา

          ๒) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันปราบปรามของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ระดับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจตามแนวคิดของทฤษฎีแรงจูงใจ มีระดับการปฏิบัติหน้าที่โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (= ๓.๓๑ S.D = .๓๗๔) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจตามแนวคิดของทฤษฎีแรงจูงใจ มีระดับการปฏิบัติหน้าที่ อยู่ในระดับความคิดเห็นปานกลางทุกด้านตามลำดับ ด้านปัจจัยกระตุ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๔๒ ปัจจัยค้ำจุน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๑๙

          ๓) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาท ๔ กับแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันปราบปรามของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท ๔ ในด้านฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา กับแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ พบว่า การปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท ๔ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ โดยภาพรวม อยู่ในระดับสูงมาก (R=๑.๐๐๐**)

          ๔) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันปราบปรามของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ รายได้ไม่เพียงพอ การแทรกแซงในการพิจารณาความดีความชอบ และขาดอุปกรณ์ในการทำงานที่ทันสมัย ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรปลูกฝัง ศรัทธา ความเชื่อมั่น และความไว้วางใจให้เกิดขึ้นแก่ประชาชน

          ๕) ผลจากสัมภาษณ์ แรงจูงใจมีความสำคัญมากต่อการทำงานโดยเฉพาะในการบริหารงานโดยเมื่อหากมีการกระตุ้นอันมีแรงจูงใจด้านต่างๆ เช่น ความเจริญก้าวหน้าในสิ่งที่ดีกว่า หรือความสำเร็จตามที่ต้องการ จะทำให้การบริหารงานนั้นมีความสำเร็จเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และบรรยากาศในการทำงานและการมอบหมายงานที่เหมาะสมกับบุคคล การจัดการเรื่องวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ การจัดการเกี่ยวกับสถานที่ปฏิบัติงาน เพราะว่าสิ่งเหล่านี้จะมีส่วนในการทำให้เกิดสภาพการปฏิบัติงานที่ดีจึงจะช่วยโน้มน้าวจิตใจให้บุคลากรปฏิบัติงานด้วยความพึงพอใจ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕