หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหานพพล กนฺตสีโล (สายสินธุ์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๙ ครั้ง
การพัฒนาภาวะผู้นาของพระสังฆาธิการในการบริหารงานคณะสงฆ์ภาค 15 (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การจัดการเชิงพุทธ))
ชื่อผู้วิจัย : พระมหานพพล กนฺตสีโล (สายสินธุ์) ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๐/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น)
  สุรพล สุยะพรหม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 การศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฏีและหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมในการพัฒนาภาวะผู้นาของพระสังฆาธิการในการบริหารงานคณะสงฆ์ (๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพและปัญหาอุปสรรคของการมีภาวะผู้นาของพระสังฆาธิการในการบริหารงานคณะสงฆ์ภาค ๑๕ และ (๓) เพื่อนาเสนอการพัฒนาภาวะผู้นาของพระสังฆาธิการในการบริหารงานคณะสงฆ์ภาค ๑๕

ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและจากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จานวน ๒๕ รูป/คน โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก(In-depth Interview)และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จานวน ๘ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ภาวะผู้นาตามแนวทางพระพุทธศาสนา ผู้นาต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีความคิดที่ลุ่มลึก มองทุกอย่างรอบด้าน รอบคอบ พร้อมทั้งมีสติปัญญาที่เฉียบแหลมสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที ไม่ปล่อยให้ปัญหาลุกลามใหญ่โตจนสร้างความเสียหายแก่พระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ และคิดที่จะเสียสละความเห็นแก่ตัวเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าที่ประกอบด้วยพรหมวิหารธรรมและยอมรับคาแนะนาจากทุกฝ่ายเพื่อพัฒนาสังคมให้สงบสุขต่อไป นอกจากนี้ ผู้นาต้องรู้จักเลือกวิธีการ และรู้จักแยกแยะการฝึกฝนพระภิกษุสามเณรและชาวบ้านให้เหมาะสมกับจริตเพื่อให้เกิดแรงกระตุ้น และเกิดกาลังใจ มีความพากเพียรพยายาม ตั้งมั่น มั่นคงในการปฏิบัติธรรมตามคาสั่งสอนของพระพุทธองค์ นอกจากนี้การรู้จักเลือกบุคคลในการทางานให้กับคณะสงฆ์เพื่อความงอกงามและเพื่อยกย่องคนดีมีศีลธรรมให้สามารถทางานเพื่อประโยชน์แก่ชาวบ้าน และสิ่งสาคัญภาวะผู้นาควรต้องมีปัญญาดีและความสามารถดี ซึ่งจะทาให้เป็นผู้มีระเบียบวินัยดี เกิดความแกล้วกล้าและกล้าหาญในการปฏิบัติงานและการรักษาความถูกต้องในสิ่งที่ถูกที่ควร ย่อมนามาซึ่งความเคารพศรัทธาจากผู้ใต้ปกครองตลอดจนประชาชนสังคมเสมอ
๒. ปัญหาภาวะผู้นาของพระสังฆาธิการในการบริหารงานคณะสงฆ์ภาค ๑๕ มีประเด็นสาคัญ ๖ ประการ ได้แก่ ๑) ปัญหาด้านภาวะผู้นาในการปกครอง ๒) ปัญหาด้านผู้นาการศาสนศึกษา ๔) ปัญหาด้านภาวะผู้นาการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ๔) ปัญหาด้านภาวะผู้นาในงานการศึกษาสงเคราะห์ ๕) ปัญหาด้านภาวะผู้นาในงานสาธารณูปการ ๖) ปัญหาด้านภาวะผู้นาในการสาธารณสงเคราะห์ อันเป็นปัญหาที่สาคัญและใหญ่สาหรับเจ้าคณะพระสังฆาธิการและคณะสงฆ์ในภาค ๑๕ ต้องตระหนักและรีบเร่งหาทางแก้ไขอย่างเหมาะสมดีงามต่อไป
๓. การพัฒนาภาวะผู้นาของพระสังฆาธิการในการบริหารคณะสงฆ์ภาค ๑๕ ก็เพื่อสร้างความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา เจ้าคณะพระสังฆาธิการคณะสงฆ์ภาค ๑๕ ยึดหลักในบริบทคือ ๑) ภาวะผู้นาในบทบาทหรือหน้าที่รับผิดชอบฐานะเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ๒) ภาวะผู้นาในบทบาทหรือหน้าที่ต้องรับผิดชอบฐานะเป็นผู้แทนวัด ๓) ภาวะผู้นาในบทบาทหรือหน้าที่ต้องรับผิดชอบฐานะเป็นพระสังฆาธิการ และ ๔) ภาวะผู้นาในบทบาทหรือหน้าที่ต้องรับผิดชอบฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย โดยมีภาวะผู้นาเป็นผู้ที่มีปัญญาและวิสัยทัศน์ และรู้จักวิธีการประพฤติประโยชน์ และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ร่วมงาน ด้วยการพัฒนาระบบการบริหารงานในองค์กรสงฆ์ภาค ๑๕ ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการทางาน มีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการทางานเป็นทีม มีการแก้ไขปัญหาโดยยุติธรรม ตลอดจนการสร้างวิสัยทัศน์ให้แก่คณะสงฆ์เพื่อให้คณะสงฆ์มีส่วนร่วมกันทางานในการบริหารกิจการของคณะสงฆ์ ๖ ด้านคือ ด้านการปกครอง ด้านการเผยแผ่ศาสนธรรม ด้านการศาสนศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณสงเคราะห์ พระสังฆาธิการในภาค ๑๕ มีความสามารถพิเศษเฉพาะตัวมีภาวะผู้นาสูง มีกระบวนการและวิธีปฏิบัติงาน สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน รวมทั้งมีการพัฒนาตนเอง พัฒนางานคณะสงฆ์ให้สมบูรณ์พร้อมในด้านพระธรรมวินัย ส่งผลโดยตรงต่อศรัทธาความเชื่อถือของพุทธศาสนิกชน ซึ่งจะช่วยให้การปฏิบัติศาสนกิจทุกอย่างบรรลุตามวัตถุประสงค์โดยง่าย ซึ่งเป็นภาวะผู้นาที่ตรงตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ หลักโกสัลลธรรม หลักสังคหวัตถุธรรม อิทธิบาทธรรม พรหมวิหารธรรม อคติธรรม จักรธรรม สัปปายธรรม สัปปุริสธรรม และอปริหานิยธรรม ก่อให้เกิดการพัฒนาภาวะผู้นาของพระสังฆาธิการในการบริหารงานคณะสงฆ์ภาค ๑๕ อย่างมั่นคงถาวรสืบไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕