หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสมุทรประภากร (เฉลิม ปภงฺกโร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
การพัฒนาศักยภาพของพระอุปัชฌาย์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การจัดการเชิงพุทธ))
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสมุทรประภากร (เฉลิม ปภงฺกโร) ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๑๐/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น)
  สุรพล สุยะพรหม
  ภัทรพล ใจเย็น
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

 การศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (๑) เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ตามหลักพระธรรมวินัย (๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของพระอุปัชฌาย์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ และ (๓) เพื่อนาเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพของพระอุปัชฌาย์ของคณะสงฆ์ภาค ๑๕

ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากเอก สารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จานวน ๒๕ รูป/คน โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก(In-depth Interview)และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จานวน ๘ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
๑. หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ที่พระพุทธเจ้าทรงวางระเบียบตามหลักพระธรรมวินัย คือพระอุปัชฌาย์พึงเป็นผู้ประกอบด้วยกองศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะอันเป็นของพระอเสขะ และเป็นผู้สามารถชักชวนสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกในคุณธรรมเหล่านี้พระอุปัชฌาย์พึงเป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีสติ พึงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและอาจาระ เป็นสัมมาทิฐิ เป็นพหูสูตมีปัญญา เป็นผู้ขวนขวายช่วยเหลือศิษย์เมื่ออาพาธ หรือจะต้องช่วยระงับความไม่ยินดีเบื่อหน่ายในการประพฤติพรหมจรรย์อันเกิดขึ้นแก่สัทธิวิหาริก หรือสามารถให้ผู้อื่นช่วยเหลือได้ และเป็นผู้สามารถฝึกอบรมศิษย์ในหลักของพระวินัย คือ อภิสมาจาริกาสิกขาคือหลักการศึกษาเกี่ยวกับข้อวัตรปฏิบัติ และอาทิพรหมจริยาสิกขาคือ หลักการศึกษาเกี่ยวกับบัญญัติเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์หมายถึงสิกขาบทที่มาในภิกขุปาติโมกข์ และภิกขุนีปาติโมกข์ สามารถแนะนาในพระอภิธรรมได้แก่หลักการที่ว่าด้วยการกาหนดนามรูป สามารถแนะนาในอภิวินัยได้แก่หลักการในพระวินัยปิฎกทั้งสิ้น พระอุปัชฌาย์พึงรู้จักอาบัติ มิใช่อาบัติ อาบัติเบา อาบัติหนัก รู้จักกระบวนการวิธีการออกจากอาบัติ จาปาติโมกข์ทั้ง ๒ คือ ภิกขุปาติโมกข์ และภิกขุนีปาติโมกข์ได้ช่าชองคล่องปาก ตลอดจน พระอุปัชฌาย์พึงมีพรรษาครบ ๑๐ หรือยิ่งกว่านั้น
(๒)
๒. สภาพปัญหาและอุปสรรคของพระอุปัชฌาย์ประกอบด้วย ปัญหาโครงสร้างของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและตัวกุลบุตรผู้บวชเอง ปัญหาอันเกิดจากการประพฤติปฏิบัติผิดพระธรรมวินัย ปัญหาความย่อหย่อนในการปฏิบัติหน้าที่ของตัวพระอุปัชฌาย์เอง และปัญหาด้านกฎหมายการบิดเบือน พระธรรมวินัยเหล่านี้ เป็นปัญหาสาคัญอย่างยิ่งของคณะสงฆ์ภาค ๑๕ ที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธีและเร่งด่วนมากเป็นพิเศษ เพราะว่าพระอุปัชฌาย์และคณะสงฆ์ภาค ๑๕ ในทุกระดับต้องมีส่วนรับผิดชอบร่วมกันยังประมาทไม่สารวมระวังละเลยปล่อยให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่องอย่างนี้ ย่อมเกิดความเสียหายเป็นอย่างมากต่อคณะสงฆ์ภาค ๑๕ และสถาบันพระพุทธศาสนาต่อไป
๓. การพัฒนาศักยภาพพระอุปัชฌาย์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ มีจานวน ๓ ด้าน คือ ๑) ด้านการพัฒนาศักยภาพตนเองของพระอุปัชฌาย์ โดยการพัฒนาศักยภาพคุณสมบัติของพระอุปัชฌาย์ พัฒนาศักยภาพด้านจริยาธรรมของพระอุปัชฌาย์ และพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นาของ พระอุปัชฌาย์ โดยการพัฒนาศักยภาพพระอุปัชฌาย์ให้มีคุณสมบัติตามพระธรรมวินัย คือมีศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุติญาณทัศนะ มีศรัทธา มีหิริโอตัปปะ มีความเพียร มีสติ มีมารยาทงดงาม เป็นสัมมาทิฎฐิ พระอุปัชฌาย์มีจริยาความเรียบร้อยดีงาม และเป็นที่น่าศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป มีความเอื้อเฟื้อ สังวร ประพฤติ ตามพระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคมอย่างเคร่งครัด เป็นแบบอย่างอันดีของสัทธิวิหาริก มีภาวะความเป็นผู้นาสูงในการปกครองดูแลคณะสงฆ์
๒) ด้านการพัฒนาศักยภาพของพระอุปัชฌาย์ของคณะสงฆ์ภาค ๑๕ ได้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลปกครองสัทธิวิหาริกให้เป็นไปโดยความเรียบร้อยดีงามตามพระธรรมวินัย ให้การศึกษาที่เหมาะสมดีงามเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับสัทธิวิหาริกอันเป็นทรัพยากรอันมีคุณค่าของคณะสงฆ์ พร้อมทั้งให้การสงเคราะห์สัทธิวิหาริกให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีแก่สัทธิวิหาริกที่เหมาะกับการดารงสมณเพศ ตลอดจนให้การดูแลรักษาพยาบาลสุภาพและสวัสดิการสัทธิวิหาริกอย่างเหมาะสมดีงาม
๓) ด้านการพัฒนาศักยภาพในการเผยแผ่พุทธธรรมของพระอุปัชฌาย์ให้แก่สัทธิวิหาริกและพุทธศาสนิกชนให้บริบูรณ์ทั้งอธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญา สร้างลูกชาวบ้าน ให้เป็นพุทธบุตร สร้างพุทธบุตร ให้เป็นอริยบุตรด้วยหลักพุทธธรรมอันดีงามเพื่อสืบทอดอายุบวรพระพุทธศาสนาให้ยังยืนสืบต่อไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕