หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูใบฎีกาสุรพล อาสโภ (แย้มชุ่ม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
การพัฒนารูปแบบงานสาธารณสงเคราะห์ตามกระบวนทัศน์วิถีพุทธ (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การจัดการเชิงพุทธ))
ชื่อผู้วิจัย : พระครูใบฎีกาสุรพล อาสโภ (แย้มชุ่ม) ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๑๐/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พิเชฐ ทั่งโต
  สุรพล สุยะพรหม
  ภัทรพล ใจเย็น
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฏี และหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ตามกระบวนทัศน์วิถีพุทธ (๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคการบริหารงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ภาค ๑๕ (๓) เพื่อนาเสนอการพัฒนารูปแบบงานสาธารณสงเคราะห์ตามกระบวนทัศน์วิถีพุทธ

       ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากเอก สารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จานวน ๒๒ รูป/คน โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก(In-depth Interview)และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จานวน ๑๑ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ
       ผลการวิจัยพบว่า
       ๑. การสาธารณสงเคราะห์ เป็นภารกิจกรรมสาคัญของพระสงฆ์ในการทางานช่วยเหลือชาวบ้านหรือคนส่วนมากหรือคนทั่วไป ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของเจ้าอาวาสตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ข้อ ๔ บัญญัติไว้ว่า “ให้ความสะดวกตามสมควรในการบาเพ็ญกุศล” การพัฒนางานสาธารณสงเคราะห์นั้น หลักพุทธธรรมแห่งพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือสาคัญที่ส่งเสริมและสนับสนุนการช่วยเหลือผู้อื่นเป็นอย่างมาก การพัฒนารูปแบบการพัฒนางานสาธารณสงเคราะห์ตามกระบวนทัศน์วิถีพุทธของพระสงฆ์ต้องอาศัยหลักพุทธธรรมสาคัญคือ ไตรสิกขา พรหม-วิหาร ๔ ราชสังคหวัตถุ จักรวรรดิวัตร อปริหานิยธรรม ทศพิธราชธรรม สาราณียธรรม สัปปุริสธรรม ฯลฯ โดยพระสงฆ์ควรมีรูปแบบการพัฒนางานสังคมสงเคราะห์ในส่วนที่สังคมคาดหวังไว้ทั้ง ๒ ส่วนคือการสงเคราะห์ทางวัตถุ และสงเคราะห์ทางจิตใจไปพร้อมๆ กัน โดยมีจุดมุ่งหมายอันจะนาไปสู่การพัฒนาและบูรณาการสังคมอย่างยั่งยืนถาวร ต้องพัฒนาคุณภาพจิตใจ พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้รูปแบบการพัฒนาตามกระบวนทัศน์วิถีพุทธ เพื่อความหลุดพ้นจากหล่มแห่งความทุกข์ ย่อมนาประโยชน์สุขอย่างสูงสุดมาสู่สังคมไทย
(๒)
       ๒. ปัญหาด้านการสาธารณสงเคราะห์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ในปัจจุบันนี้ มี ๔ ด้าน คือ ๑) ปัญหาด้านการดาเนินการเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล ๒) ปัญหาด้านการช่วยเหลือเกื้อกูลกิจการของผู้อื่นเพื่อสาธารณประโยชน์ ๓) ปัญหาด้านการเกื้อกูลสาธารณสมบัติสถานที่อันเป็นสาธารณสมบัติ และ ๔) ปัญหาด้านการเกื้อกูลประชาชนหรือสรรพสัตว์
      ๓. งานด้านการสาธารณสงเคราะห์ตามกระบวนทัศน์วิถีพุทธของคณะสงฆ์ภาค ๑๕ นั้น เน้นการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบที่สามารถปฏิบัติงานออกมาแล้วเป็นสาธารณประโยชน์จริงอย่างเป็นรูปธรรม และที่สาคัญต้องปรับประยุกต์หลักพุทธธรรมอันเหมาะสมมี หลักไตรสิกขา หลักพรหมวิหารธรรม และหลักสังคหวัตถุธรรม ฯลฯ มาใช้ในการปฏิบัติงานทั้งระบบอย่างเหมาะสมดีงาม โดยมีเป้าหมายจุดประสงค์หลักว่าให้คณะสงฆ์ได้ถือปฏิบัติดาเนินการเน้นหลักให้คณะสงฆ์ได้ทางานช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในด้าน ต่าง ๆ เป็นหลักสาคัญ การปฏิบัติงานด้านการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ภาค ๑๕ จึงต้องเน้นหนักไปในทิศทางที่เกี่ยวกับการที่คณะสงฆ์ต้องให้ความสงเคราะห์ประชาชนในชุมชนและสังคม ยังเป็นการสร้างความผูกพันระหว่างวัดกับบ้านอีกทางหนึ่งด้วย ที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยและกฎหมายกฎระเบียบของบ้านเมือง เพื่อมุ่งพัฒนาทั้งทางคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งทางวัตถุและจิตใจให้มีความสมดุลทั้งกาย วาจา และจิตใจอันจะนาความสุข ความเจริญพัฒนามาสู่วัดและชุมชนสังคมประเทศชาติ โดยมีวัดและพระภิกษุสามเณรเป็นผู้นาที่สาคัญ และเป็นการดาเนินการช่วยเหลือสังคมทางวัตถุและจิตใจในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ด้านการพัฒนาจิตใจ ด้านคุณภาพชีวิต ด้านการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น ด้านการส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ก็จะส่งผลให้ก่อเกิดความสุข สงบ สว่าง เป็นการพัฒนาอย่างยังยืน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕