หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปลัดภานุมาส นนฺทรกฺโข (นันทรักษ์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๖ ครั้ง
ทักษะการบริหารจัดการการศึกษาของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระปลัดภานุมาส นนฺทรกฺโข (นันทรักษ์) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี
  วรกฤต เถื่อนช้าง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการทักษะการบริหารจัดการการศึกษาของเจ้าอาวาสในเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อทักษะการบริหารจัดการการศึกษาของเจ้าอาวาสในเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตรโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการทักษะการบริหารจัดการการศึกษาของเจ้าอาวาสในเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร  โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าอาวาสที่อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตรจำนวน ๒๑๔ รูป ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test )  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA ) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD ) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้

ผลการวิจัยในการศึกษา ความคิดเห็นของเจ้าอาวาสต่อการใช้ทักษะการบริหารจัดการการศึกษาของ  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีอายุตั้งแต่ ๓๑ ๓๕ ปี จำนวน  ๗๙ รูป คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๙๒ มีพรรษา ๑๑ ๒๐ พรรษา จำนวน ๑๑๖ รูป คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๒๑  มีการศึกษาทางธรรม จบนักธรรมชั้นเอก จำนวน ๒๑๓ รูป คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๕๓ มีการศึกษาทางเปรียญธรรม ที่ยังไม่ได้เปรียญธรรม จำนวน ๑๖๓ รูป คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๑๗  และจบการศึกษาทางโลก ปริญญาตรี จำนวน ๑๐๓ รูป คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๑๓ พบว่า  เจ้าอาวาสมีความคิดเห็นต่อการใช้ทักษะการบริหารจัดการการศึกษาของเจ้าอาวาสในเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x= ๔.๐๓)  เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า เจ้าอาวาสมีความคิดเห็นต่อการใช้ทักษะการบริหารจัดการการศึกษาของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร ทักษะด้านความคิด (x= ๔.๐๘)  อยู่ในระดับมาก ทักษะด้านความคิดรวบยอด (x= ๔.๐๗) ทักษะด้านการสอน (x= ๔.๐๗)  ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ (x= ๔.๐๔) ทักษะด้านเทคนิค (x= ๓.๙๑) อยู่ในระดับน้อยสุด

เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของเปรียบเทียบความคิดเห็น ของเจ้าอาวาสต่อการใช้ทักษะการบริหารจัดการการศึกษาของเจ้าอาวาสในเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลแล้วพบว่า เจ้าอาวาสที่มีการศึกษาทางโลกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้ทักษะการบริหารจัดการการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้สำหรับในด้าน อายุ พรรษา การศึกษาทางธรรม และการศึกษาทางเปรียญธรรม มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะ คือการสนับสนุนและส่งเสริมให้เจ้าอาวาสควรศึกษาในด้านการใช้ทักษะการบริหารจัดการการศึกษาเขตปกครองในเขตปกครองจังหวัดพิจิตร โดยสรุปได้ดังนี้  ๑). ในทักษะการบริหารจัดการศึกษา เจ้าอาวาสควรมีการกระตุ้นบุคลากรให้มีการพัฒนาการการใช้ทักษะการบริหารการจัดการการศึกษา เมื่อเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตรเกิดความรู้และเข้าใจในการบริหารงาน ก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและทำให้เกิดประสิทธิผลอย่างสูงสุด ๒). ในทักษะการบริหารจัดการศึกษา เจ้าอาวาสควรให้ความสำคัญในการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ในองค์กรทุกระดับ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคมไทย  ๓). ในทักษะการบริหารจัดการศึกษา เจ้าอาวาสควรมีความสม่ำเสมอภาคในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่เลือกปฏิบัติกับผู้ใต้บังคับบัญชา ๔). ควรที่จะมีการเพิ่มเครื่องมือในการทำวิจัยให้มากขึ้น นอกเหนือจากการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม เช่น การสังเกตพฤติกรรม หรือการสนทนากลุ่ม เพื่อนำข้อมูลที่ได้ มาวิเคราะห์ให้ได้ผลตรงกับทักษะการบริหารการจัดการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕