หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการมนัส ปญฺญาวฑฺฒโน (เง่อสวัสดิ์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๘ ครั้ง
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการเผยแผ่ ของพระสังฆาธิการในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี (การจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการมนัส ปญฺญาวฑฺฒโน (เง่อสวัสดิ์) ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  -
  -
  ชวัชชัย ไชยสา
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

      การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการเผยแผ่ของพระสังฆาธิการในอำเภอจอมบึง  จังหวัดราชบุรี (๒) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการเผยแผ่ของพระสังฆาธิการในอำเภอจอมบึง  จังหวัดราชบุรี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล และ (๓) เพื่อศึกษาแนวทางการมีประสิทธิภาพการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการเผยแผ่ของพระสังฆาธิการในอำเภอจอมบึง  จังหวัดราชบุรี โดยในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) คือการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ (Interview)  ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากพระภิกษุสงฆ์ในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี จำนวน ๖๖๔ รูป โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิด และปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ     (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่าง จึงได้ทำการเปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นคู่ ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Seheff’s Method) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ๐.๐๕ ด้วยวิธีผลต่างนับสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference; LSD)

 ผลการวิจัยพบว่า

 

 

. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการเผยแผ่ของพระสังฆาธิการในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ .๔๒ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านเทคนิคการเผยแผ่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ .๕๒ และด้านสื่อในการเผยแผ่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ .๕๔ พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง และด้านนโยบายการเผยแผ่ ด้านบุคลากรผู้เผยแผ่ ด้านรูปแบบการเผยแผ่ อยู่ในระดับน้อยทุกด้าน

          . ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของคณะสงฆ์และพระสังฆาธิการที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการเผยแผ่ของพระสังฆาธิการในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี  จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า สถานภาพ ไม่ทำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่าง เป็นการปฏิเสธสมมติฐานของการวิจัย ส่วนสถานภาพส่วนบุคคลด้านอายุ พรรษา วุฒิทางการศึกษาสามัญ วุฒิทางการศึกษานักธรรม และวุฒิทางการศึกษาเปรียญธรรม มีผลทำให้ความคิดเห็นของคณะสงฆ์และพระสังฆาธิการที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการเผยแผ่ของพระสังฆาธิการในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ เป็นการยอมรับสมมติฐานของการวิจัย

          . ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการเผยแผ่ของพระสังฆาธิการในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี พบว่า

           .๑ ด้านนโยบายการเผยแผ่  ควรปรับปรุงนโยบายให้มีความชัดเจน มีความเป็นไปได้ในการที่จะทำการเผยแผ่ในแต่ละพื้นที่นั้น

           .๒ ด้านบุคลากรผู้เผยแผ่ ควรให้มีการอบรมส่งเสริมบุคลากร ด้านเผยแผ่ให้มากและควรใช้สื่อเข้ามาประกอบด้วย

          .๓ ด้านรูปแบบการเผยแผ่ ควรที่จะนำสื่อการสอนมาใช้เสริมไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายต่อผู้ฟัง และควรเน้นให้มีกิจกรรมเข้าแทรก เพื่อดึงผู้ฟังให้มีสมาธิกับกระบวนการที่เผยแผ่

          .๔ ด้านเทคนิควิธีการเผยแผ่ ควรสร้างกระบวนการโดยเสริมเทคนิคต่างๆ ให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นและตัวบุคลากรต้องมีความรู้ความเข้าใจ ความสามารถด้านการสร้างกระบวนการเผยแผ่เพื่ออบรมแก่บุคลากรต่อไปอีก

          .๕ ด้านสื่อในการเผยแผ่ พบว่า ควรมีการอบรมให้รู้จักการสร้างสื่อ และใช้สื่อในการสอนให้เป็นทั้งข้อมูลและความแม่นยำ เหมาะสมแก่ผู้รับสารอย่างดียิ่ง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕