หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูชินวรานุวัตร (คำยวง)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
บทบาทของวัดต่องานด้านสาธารณสงเคราะห์ : กรณีศึกษาชุมชน บ้านฆ้องน้อย จังหวัดราชบุรี(การจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูชินวรานุวัตร (คำยวง) ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธัชชนันท์ อิศรเดช
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ
  วิรัช กลิ่นสุบรรณ์
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทของวัดในด้านงานสาธารณสงเคราะห์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทของวัดในด้านงานสาธารณสงเคราะห์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อเสนอแนะบทบาทของวัดที่มีต่อด้านงานสาธารณสงเคราะห์ ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนในชุมชนบ้านฆ้องน้อย จังหวัดราชบุรี จำนวน ๔๐๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น ๓ ตอน คือ ตอนที่ ๑ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ ๒ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวความคิดเห็นต่อบทบาทของวัดในงานด้านการสาธารณสงเคราะห์ : กรณีศึกษาชุมชนบ้านฆ้องน้อย จังหวัดราชบุรี ตอนที่ ๓  เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของประชาชนต่อบทบาทของวัดในด้านสาธารณสงเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชพเฟ่ (Scheffe)

                  ผลการวิจัย พบว่า 

๑. บทบาทของวัดต่องานด้านสาธารณสงเคราะห์ : กรณีศึกษาชุมชนบ้านฆ้องน้อย จังหวัดราชบุรี ทั้ง ๓ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๐๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการพัฒนาจิตใจ ประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๑) ส่วนในด้านการพัฒนาท้องถิ่น อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒.๙๙) และด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒.๗๖)

๒. บทบาทของวัดต่องานด้านสาธารณสงเคราะห์ : กรณีศึกษาชุมชนบ้านฆ้องน้อย จังหวัดราชบุรี จำแนกตามสถานสภาพส่วนบุคคลโดยรวม ประชาชนที่มี อาชีพ และประสบการณ์ในการเข้าวัดที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของวัดในงานด้านสาธารณสงเคราะห์ แตกต่างกัน ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ สำหรับประชาชนที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของวัดในงานด้านสาธารณสงเคราะห์ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

              ๓. ปัญหาส่วนใหญ่ของวัดในการดำเนินงานด้านการสาธารณสงเคราะห์ คือปัญหาการนโยบายการทำงานขาดแผนงานการจัดการที่ดีเหมาะสมกับงานและการกระจายงาน การอนุเคราะห์ส่งเสริมในด้านการสาธารณสงเคราะห์ทั้ง ๓ ด้านให้แก่ชุมชนไม่ทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ ขาดการจัดกิจกรรมการด้านส่งเสริมในงานการสาธารณสงเคราะห์ให้แก่ชุมชน และการดำเนินงานหรือดำเนินกิจกรรมขาดความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม และขาดกำลังทุนสนับสนุนและขาดการประสานร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน และขาดการส่งเสริมสนับสนุนจากคณะสงฆ์ และประกอบกับการทำงานต่างวัดต่างทำขาดความร่วมมือกันทำงาน ทำให้การทำงานไปคนละทิศไม่สอดคล้องกันทำให้งานด้านการสาธารณสงเคราะห์ไม่ก้าวหน้า ตลอดจนขาดบุคลากรที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการทำงานและรองรับการปฏิบัติงานในอนาคตเป็นจำนวนมาก

              ดังนั้น วัดและคณะสงฆ์จังหวัดราชบุรีผู้หน้าที่รับผิดชอบงานในด้านการสาธารณสงเคราะห์ทุกระดับ ควรมีการเพิ่มบุคลากรให้เพียงพอและควรเสริมปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ให้มากยิ่งขึ้น และควรมีการกระจายอำนาจหน้าที่กระจายการปฏิบัติงานอย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ทุกวัดของจังหวัดราชบุรีอย่างเหมาะสม ประกอบกับควรทำงานอย่างมีระบบเป็นแนวทางเดียวกัน และมีเครือข่ายรวมมือกัน โดยการใช้ความรู้ความสามารถของบุคลากรให้เต็มศักยภาพ ตลอดจนมีความประพฤติดีงามด้วยศีลาจาริยวัตรตามหลักพระธรรมวินัย มีความอดทน เสียสละทุ่มเทอย่างจริงจัง เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาต่อไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕