หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการจำปา กิตฺติปญฺโญ (คำนอก)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๗ ครั้ง
การศึกษาบทบาทและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระครูคงนครพิทักษ์ (หลวงพ่อคง ฐิติปญฺโญ)
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการจำปา กิตฺติปญฺโญ (คำนอก) ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๗/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีสุตาภรณ์
  สุรพงษ์ คงสัตย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

                    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาหลักการเผยแผ่ธรรมของพระสาวกที่ปรากฏในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาบทบาทและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระครูคงนคร ทักษ์(หลวงพ่อคง ฐิติปญฺโญ) และ (๓) เพื่อศึกษาวิธีการประยุกต์คำสอนของพระครูคงนครพิทักษ์ (หลวงพ่อคงฐิติปญฺโญ) มาใช้ในชีวิตประจำวัน ผลการวิจัยพบว่า

                   หลักการเผยแผ่ธรรมของพระสาวกตามแนวพุทธจริยาพระพุทธเจ้าที่ทรงเน้นข้อวัตรให้เป็นแบบอย่างในการสอนโดยยึดหลักการเผยแผ่ธรรมที่พุทธองค์ทรงใช้ในการเผยแผ่ ต้องยอมรับว่าองค์กรที่สำคัญ คือ การเริ่มต้นสนทนาเป็นจุดสำคัญ สร้างบรรยากาศให้ปลอดโปร่ง เพลิดเพลินไม่ตึงเครียด ไม่เกิดความอึดอัดใจแก่ผู้รับสารและที่สำคัญการเผยแผ่แผ่ไม่กระทบผู้อื่น พระสารีบุตรให้ลีลาในการสอน ๔ อย่าง คือ (๑) สันทัสสนา อธิบายความชัดเจนแจ่มแจ้ง (๒) สมาทปนา จูงใจให้เห็นจริงชวนคล้อยตามยอมรับและนำไปปฏิบัติ (๓) สมุตเตชนา การเร้าใจให้เกิดความแกล้วกล้า เกิดกำลังใจ ไม่ท้อต่อปัญหา และ
(๔) สัมปหังสนา การชโลมใจให้เกิดความร่าเริง เบิกบานใจ เปี่ยมด้วยความหวัง

                   บทบาทและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระครูคงนครพิทักษ์ (หลวงพ่อคง  ฐิติปญฺโญ) เน้นการสอนในเรื่องการเจริญสติวิปัสสนากรรมฐานตามหลักของพระพุทธศาสนา ได้แก่ หลักสติปัฏฐาน ๔ คือ การพิจารณากาย  การพิจารณาเวทนา  การพิจารณาจิต   และการพิจารณาธรรม เน้นสอนหลักการทำสติภาวนาตามรู้ความคิดให้สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน คือ ให้สามารถทำสติภาวนาตามหลักพุทธคุณ  ธัมมคุณ และ สังฆคุณ เป็นต้น โดยเน้นการปฏิบัติหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน ให้มีความเมตตากรุณา
มีศีลธรรม  มีจริยธรรม เป็นต้น

                  วิธีการประยุกต์ใช้คำสอนของพระครูคงนครพิทักษ์ (หลวงพ่อคง ฐิติปญฺโญ) มาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น  ศรัทธา ๔  การละกิเลส และ วิธีการพิจารณาธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ เป็นต้น ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์เพื่อในการพัฒนาจิต และนำไปใช้ในด้านครอบครัวใช้สำหรับการดำเนินชีวิตครอบครัว เพื่อสร้างความรัก ความสามัคคี และ ความเข้าใจกัน  โดยปฏิบัติอยู่ในหลักของทาน ศีล ภาวนา ในการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิดความสงบสุขในครอบครัว  สังคม และประเทศชาติสืบไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕