หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เจษฎาวัลย์ ปลงใจ
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๕ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์การล่วงละเมิดศีลข้อสามในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : เจษฎาวัลย์ ปลงใจ ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๗/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเวียง กิตฺติวณฺโณ
  ปาริชาต บุญญาวิวัฒน์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

           วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เจตนารมณ์ความเป็นมาและภูมิหลังของการบัญญัติศีลข้อสาม ลักษณะการล่วงละเมิดศีลข้อสาม ผลของการล่วงละเมิดศีลข้อสามและอานิสงส์ของศีลข้อสามในพระพุทธศาสนาเถรวาท

            ผลการวิจัยพบว่าเจตนารมณ์ของการบัญญัติศีลข้อสามเพื่อเป็นบรรทัดฐานของการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ป้องกันการแตกราวของสามีภรรยาและครอบครัวในการบัญญัติศีลข้อสามมีภูมิหลังมาจากการประพฤติไม่สมควรของคฤหัสถ์ทั้งชายและหญิงเป็นสาเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันและให้โทษต่อบุคคลนั้น

                 ลักษณะของการล่วงละเมิดศีลข้อสาม เป็นการล่วงประเวณี ระหว่างชายหญิงที่ไม่ใช่คู่ครองของตน โดยการสัมผัสทางกาย และผลของการล่วงละเมิดศีลข้อสามทำให้ศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อย ให้โทษต่อผู้ที่ล่วงละเมิดคือ ให้โทษต่อตนเองทำให้ตนเองได้รับความเดือดร้อนตกนรก ให้โทษต่อครอบครัวทำให้ครอบครัวแตกแยกไม่มีความสุข ให้โทษต่อสังคมไม่เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม

                อานิสงส์ของการรักษาศีลข้อสามที่มีต่อตนเองคือทำให้ไม่เสียทรัพย์ได้รับการยกย่องจากผู้อื่น มีอานิสงส์ต่อครอบครัวคือทำให้เกิดความเข้าใจกันระหว่างสามีภรรยา ทำให้ครอบครัวอบอุ่น มีอานิสงส์ต่อสังคมคือทำให้สังคมน่าอยู่ ลดปัญหาการล่วงประเวณี การข่มขืน เป็นต้น

                 ดังนั้น การล่วงละเมิดศีลข้อสามทำให้เกิดผลเสียต่อสามีภรรยาโดยตรง และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของครอบครัวและสังคมอย่างมาก ผู้ที่ล่วงละเมิดศีลได้รับผลคือ ทำให้เสียทรัพย์ เสื่อมเสียชื่อเสียง ไม่ได้รับการยกย่องจากผู้อื่น เพราะฉะนั้น บุคคลควรงดเว้นจากการประพฤติล่วงละเมิดศีลข้อสามเพื่อลดปัญหา การหย่าร้างของสามีภรรยา และครอบครัวแตกแยกได้

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕