หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระกิตติชัย ปญฺญาธโร (สินคง)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๙ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระกิตติชัย ปญฺญาธโร (สินคง) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตติปญฺโญ,ดร.
  ผศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์  อำเภอเมือง  จังหวัดพิษณุโลก ๒) เพื่อเปรียบเทียบทัศนะของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์  อำเภอเมือง  จังหวัดพิษณุโลก โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล   ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์  อำเภอเมือง  จังหวัดพิษณุโลก 

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมระหว่าง  การวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ จำนวน ๓๙๒ คน จากจำนวนประชากร ๑๙,๔๔๙ คน  ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยได้จากสูตรของ Taro Yamane ซึ่งใช้ระดับความเชื่อมั่นที่ ๐.๐๕  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยบรรยายข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA และ  ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
๑) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์  อำเภอเมือง  จังหวัดพิษณุโลก ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  = ๒.99) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน มีเพียงด้านการติดตามผลและประเมินผลที่อยู่ในระดับน้อยกว่าด้านอื่น มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ (  = ๓.๐๙) ด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจ (  = 3.00) ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน (  = ๒.๙๖) และด้านการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผล (  = ๒.๙๒)
๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์  อำเภอเมือง  จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า ประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์  อำเภอเมือง        จังหวัดพิษณุโลก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ 
๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์  อำเภอเมือง  จังหวัดพิษณุโลก พบว่าประชาชนขาดการมีส่วนร่วมในการมี่ส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดขึ้น เพราะขาดการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการจัดทำแผน ให้ความรู้ความเข้าใจ สร้างจิตสำนึกการรักท้องถิ่น ความสามัคคีในชุมชน ให้เห็นความสำคัญของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้มาร่วมตัดสินใจในแผนต่างๆของอบต. ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนกับองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดระเบียบหรือหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ชัดเจนไว้สำหรับให้องค์การบริหารส่วนตำบลถือปฏิบัติ หรือการที่จะดำเนินงานในเรื่องใดนั้นต้องให้ประชาชนหรือชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยกระบวนการประชาคม ประชาพิจารณ์ หรือประชามติ เพื่อให้การวางแผนมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับปัญหา ความต้องการของประชาชน  ปัญหาประชาชนในพื้นที่มีการแบ่งข้างกัน มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ไม่เหมือนกันจึงไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ของ อบต.
๔) แนวทางการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้นั้น ต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนเข้ามาร่วมตัดสินใจ วางแผน ดำเนินการ และติดตามประเมินผล เพราะโครงการแต่ละโครงการ ก็ล้วนมาจากความต้องการของประชาชนในพื้นที่ การดำเนินการโครงการต่างๆของ อบต. ไม่สามารถจัดทำได้เต็มที่อันเนื่องมาจากงบประมาณ ที่มีอยู่จำกัดในแต่ละปี ความต่อเนื่องของโครงการเพราะมีการเปลี่ยนแปลงของการเมืองท้องถิ่น บุคลากรที่มีไม่เพียงพอ ภัยธรรมชาติ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕