หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ปาณิศา มีแสง
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
ศึกษาแนวคิดเรื่องเทพอารักษ์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูกับ เทพอารักษ์พุทธศาสนาเถรวาท:กรณีศึกษาเฉพาะเทพจตุโลกบาล พระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : ปาณิศา มีแสง ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ศาสนาเปรียบเทียบ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชสิทธิมุนี วิ., ดร.
  ดร.แสวง นิลนามะ
  ดร. สฤษฎ์ แพงทรัพย์
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

  วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย๓ประการคือ(๑) เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องเทพอารักษ์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู(๒) เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องเทพอารักษ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๓)  ศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อเรื่องเทพอารักษ์ในศาสนาพราหมณ์- ฮินดู กับ เทพอารักษ์พุทธศาสนาเถรวาท:กรณีศึกษาเฉพาะเทพจตุโลกบาล

ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑  พบว่า“เทพอารักษ์”หรือเทพผู้พิทักษ์ใน ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  คือพระเจ้าสูงสุดผู้สร้างโลก ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุค “เทพเจ้า” หรือพระตรีมูรติ(Trimurti) หรือ เทพทัตตาเตรยะ ถือเป็นเทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศาสนาพราหมณ์ เพราะรวมมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่๓ พระองค์คือ พระพรหม(ผู้สร้าง /สฤษฏิ),, พระวิษณุ หรือพระนารายณ์ (ผู้รักษาโลก/สถิติ) และพระศิวะหรือพระอีศวร (ผู้ทำลาย/ประลัย) ในศาสนาพรหมณ์-ฮินดูพระเทวานุภาพของพระตรีมูรติสามารถประทานความสุขสมหวังได้ในทุกเรื่องต่อมาก็เกิดเทพชั้นรองทำหน้าที่พิทักษ์รักษาหรือ“เทพอารักษ์”ตามหน้าที่มีชื่อต่างๆ  เช่น เทพอัคคี,เทพวรุณ
ในงานวิจัยนี้มุ่งศึกษา “เทพอารักษ์”ในคติศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่ส่งผลต่อคตินิยมไทยตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ครูช่างหลวงได้เขียนไว้ในพุทธสถาน เช่น บานประตู/หน้าต่างของพระอารามหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับ”ท้าวจตุโลกบาล”ซึ่งรับอิทธิพลจากคัมภีร์พระเวท  คัมภีร์ภควัตคีตาคัมภีร์ปุราณะ  เป็นต้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคัมภีร์นารายณ์สิบปางตามโลกทัศน์ของไทยซึ่งเน้นภาพเทพปกรณัมของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู    เกี่ยวข้องกับคติ“เทพอารักษ์” เดิม อันหมายถึงผู้ปกป้องคุ้มครองรักษาศาสนสถาน  คือ ๑.มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่๓.พระองค์เข้าด้วยกัน  วิสุทธิเทพ  ก็คือ พระพรหม, พระวิษณุ  และพระศิวะ ๒.เทพพระเคราะห์๓.ทิศปาล(เทพผู้รักษาทิศ)๔.เทพผู้ทรงฤทธิ์ ๕.เทพชั้นรอง(กลุ่มเทวบุตร)
ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๒  พบว่า.เทพอารักษ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาทตามคติความเชื่อ โดยที่ท้าวจาตุโลกบาล ทั้ง ๔ ทำหน้าที่อารักขา พระอินทร์  ทรงมีเทวะพระบัญชาให้มหาราชทั้ง ๔ ทำหน้าที่เฝ้ารักษาประตูสวรรค์ในทิศทั้ง ๔  เพื่อป้องกันมิให้พวกอสูรมารบกวน พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ซึ่งสถิตอยู่เหนือยอดเขายุคันธร ที่เรียกว่าชั้นจาตุมหาราชิกา อันเป็นชั้นต่ำกว่าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมา ซึ่งเป็นที่สถิตขององค์อินทร์  มีเทวดาผู้เป็นใหญ่เป็นมหาราชอยู่๔องค์ คือ ท้าวธตรฐอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองคันธเทวดาท้าววิรุฬหก อยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครอบกุมภัณฑ์เทวดาท้าววิรูปัก อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองนาคเทวดาท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวัณ อยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองยักษ์เทวดา   ซึ่งมหาราชทั้ง ๔ นี้ เป็นผู้รักษามนุษยโลก หรือ เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาลมีหน้าที่สอดส่องดูแลมนุษย์ที่ประกอบผลบุญแล้วรายงานต่อพระอินทร์ เพื่อให้ได้ไปเกิดในสรวงสวรรค์มีสถานที่ปกครองตั้งแต่กลางเขาสิเนรุ ลงมาจนถึงมนุษยโลก มีอาณาเขตแผ่ออกไปจดขอบจักรวาลเทวดาทั้งหลายที่อยู่ในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมินี้ทั้งหมด เป็นบริวารภายใต้อำนาจของมหาราชทั้ง๔  และแต่งตั้งให้  คนธรรพ์  กุมภัณฑ์ นาค  และยักษ์  อย่างละแสนรักษาประตูสวรรค์ทั้ง ๔  ทิศ คือเสนาคนธรรพ์รักษาทิศบูรพา,เสนากุมภัณฑ์   รักษาทิศทักษิณ,เสนานาครักษา ทิศปัจจิม,และเสนายักษ์รักษาทิศอุดรปัจจุบันเทพอารักษ์บนบานประตู/หน้าต่างที่ช่างเขียนจิตรกรรมไทยได้อุทิศแรงกายแรงใจเพื่อถวายตนรับใช้พุทธศาสนายังคงทำหน้าที่ช่างเขียนเทพอารักษ์ยืนถือพระขรรค์และอาวุธแห่งเทพ เพื่อปกป้องพระศาสนาให้ยืนยาวไปสู่อนาคต 
ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๓  จากกรณีการศึกษากรณีท้าวจตุโลกบาลในพระอุโบสถสมัยรัตนโกสินทร์  ๑. วัดราชนัดดารามราชวรวิหาร๒. วัดสุทัศน์เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร  ๓.วัดบวรสถานสุทธาวาส(วัดพระแก้ววังหน้า) ๔.วัดคงราราม ราชบุรี  ๕.วัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี ๖.วัดไชยทิศพบว่าคติเทพอารักษ์ในศาสนาพราหมณ์-อินดูได้ส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อพุทธศาสนาทั้งในทางตรงและทางอ้อมคือมีพัฒนาการจากเทพเบื้องบนในฐานะเทพตรีมูรติมาเป็นเทพอารักษ์ในคติพระนารายณ์สิบปางในศาสนาพราหมณ์-อินดู  ส่วนคติพุทธศาสนาได้อธิบายเทพอารักษ์ในคติท้าวจตุโลกบาล และในยุคหลังได้มีการผสมผสานคติเทพอารักษ์จากสองศาสนาในรูปแบบวิถีชีวิต พิธีกรรมศาสนา ศิลปกรรม จากอดีตถึงปัจจุบัน

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕