หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุดารัตน์ แซ่เตียว
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๕ ครั้ง
การดำเนินงานตามหลักอริยสัจ ๔ ของโครงการในพระราชดำริโครงการ นักวิทยาศาสตร์น้อย (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : สุดารัตน์ แซ่เตียว ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ดร.อดิศัย กอวัฒนา
  ผศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

 


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการดำเนินงานตามหลักอริยสัจ ๔ของโครงการ        ในพระราชดำริโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  ๒) เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานตามหลักอริยสัจ ๔ ของโครงการในพระราชดำริโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามหลักอริยสัจ ๔ของโครงการในพระราชดำริโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารและครูปฐมวัย ประจำปีการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต ๒ ที่เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย จำนวน ๓๐ โรงเรียน จำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่าง ๑๐๘ คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่    โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้
ผลการวิจัย พบว่า  ผู้บริหาร และครูปฐมวัยต่อการดำเนินงานตามหลักอริยสัจ ๔ของโครงการในพระราชดำริโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต ๒  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (  = ๓.๗๖) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน
ผลการเปรียบเทียบต่อการการดำเนินงานตามหลักอริยสัจ ๔ของโครงการในพระราชดำริโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต ๒  จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ, กลุ่มอายุ, วุฒิการศึกษา, ตำแหน่ง, และประสบการณ์ทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่าไม่แตกต่างกัน จึงปฎิเสธสมมติฐานการวิจัยเมื่อมองในภาพรวม และแบ่งเป็นกลุ่มตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มเพศ, อายุ, วุฒิการศึกษา, ตำแหน่ง, และประสบการณ์ทำงาน ก็พบว่าไม่แตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ จึงปฎิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
องค์ความรู้แนวทางการพัฒนาในการดำเนินงานตามหลักอริยสัจ ๔ของโครงการในพระราชดำริโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์เขต ๒ จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า บุคลากรเป็นผู้ปฏิบัติงานทั้งงานในหน้าที่ และภารกิจที่ได้รับมอบหมาย โดยอาศัยกรอบ
การดำเนินงานตามหลักอริยสัจ ๔ของโครงการในพระราชดำริโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยได้แก่ 
ด้านทุกข์ ด้านสมุทัยด้านนิโรธ และด้านมรรค เมื่อผ่านกรอบความคิดเห็นของบุคลากรในการดำเนินงานตามหลักอริยสัจ ๔ของโครงการในพระราชดำริโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรียบร้อยแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ โดยขั้นตอนนี้จะเป็นการบริหารงานซึ่ง หมายถึงการตรวจรูปแบบ วัตถุประสงค์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ        และประโยชน์ของการดำเนินงาน หากผลที่ได้รับผ่านทุกหลักเกณฑ์และคุ้มค่าต่อการปฏิบัติ ก็จะนำผลงานที่ได้รับไปประยุกต์และพัฒนาให้ใช้งานได้จริง ให้เกิดผลจริง ตรงกันข้ามหากผ่านขั้นตอนการวิเคราะห์งานแล้ว ผลที่ได้ไม่คุ้มค่ากับการปฏิบัติ บุคลากรก็จะต้องนำ งานกลับมาปรับปรุง/แก้ไข เพื่อทบทวนหาข้อผิดพลาด โดยผ่านกรอบการดำเนินงานตามหลักอริยสัจ ๔ของโครงการในพระราชดำริโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ทำเช่นนี้จนกว่าผลลัพธ์นั้นจะออกมามีประสิทธิภาพ เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานจริง อนึ่ง หากบุคลากรใช้ความละเอียดอ่อนในการปฏิบัติงานตามหลักอริยสัจ ๔ อย่างมีสติ การดำเนินงานตามหลักอริยสัจ ๔ของโครงการในพระราชดำริโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยในโรงเรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยเป็นการบริการด้านหนึ่งที่โรงเรียนต้องจัดขึ้นเพื่อบริการนักเรียนทุกคน  โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ  ช่วยให้รู้จักตนเองอย่างแท้จริง  เข้าใจและสามารถแก้ปัญหาของตนเองและเป็นพลเมืองที่ดีมีประสิทธิภาพ  อันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไปได้  เช่น กล้าตัดสินใจในการทดลอง  หรือแก้ปัญหาอย่างไร  และสามารถปรับตัวได้อย่างมีความสุข  มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต  ได้พัฒนาตนเองจนถึงขีดสุด  ดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ผลงานที่ได้รับก็จะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน และยั่งยืน ทั้งนี้ ความมีประสิทธิภาพที่เกิดแก่ตัวบุคลากรก็จะเป็นเสมือนตัวชี้วัดที่ส่งผลให้การดำเนินงานตามหลักอริยสัจ ๔ ของโครงการในพระราชดำริโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยในสถานศึกษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดาวน์โหลด

         
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕