หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » น้ำค้าง ตนชัยภูมิ
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๑ ครั้ง
ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักสาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์(การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : น้ำค้าง ตนชัยภูมิ ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ดร.อดิศัย กอวัฒนา
  ผศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๖ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลัก   สาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอแม่วงก์   จังหวัดนครสวรรค์  ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักสาราณียธรรม   ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอแม่วงก์   จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  ๓) เพื่อศึกษารูปแบบในการนำหลักสาราณียธรรมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานขององค์การบริหารตำบล ในอำเภอแม่วงก์   จังหวัดนครสวรรค์ 

ในการวิจัยครั้งนี้ครั้งนี้ดำเนินการวิจัยโดยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed  Research)  โดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Surrey  Research)  กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนทั่วไป ของอำเภอแม่วงก์  โดยเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่าง สำเร็จรูป R.v.Krejcie  และ D.w. Morgan  ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน  ๔๐๐  คน  โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple  Rondom  Simpling)  โดยใช้การจับสลากเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  การหาความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน           การทดสอบค่า (t-test)  ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม  การทดสอบค่า F- test  หรือทดสอบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)  ซึ่งเป็นการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย ตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป  รวมทั้งการทดสอบการเป็นอิสระ (X2-test  of Independent)  ผลการศึกษาสามารถสรุป อภิปรายผลและมีข้อเสนอแนะ เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD ) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้
ผลการวิจัยพบว่า พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงจำนวน ๒๕๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๘ ที่มีอายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง ๓๑-๔๐ ปี จำนวน ๑๕๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๘ ระดับการศึกษา อยู่ในระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๗๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๓.๘  มีอาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร จำนวน ๑๙๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๐  มีรายได้อยู่ระหว่าง ๓,๐๐๑-๖,๐๐๐ บาท จำนวน ๑๕๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๘ รองลงมามีรายได้ระหว่าง ๖,๐๐๑-๙,๐๐๐ บาท ต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๓
ระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลัก สาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอแม่วงก์   จังหวัดนครสวรรค์
ผลการวิจัย  พบว่า เมื่อมองในภาพรวมของประชาชนที่มีต้อการบริหารงานตามหลักสาราณียธรรม ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก   (X̅ =๓.๕๑๕๔) หากพิจารณาตามรายด้านก็พบว่าด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  คือด้านเมตตากายกรรม 
(X̅ = ๓.๕๔๓๕)เมตตาวจีกรรม (X̅ = ๓.๕๑๘๕) เมตตามโนกรรม (X̅ = ๓.๕๔๗๕)  และด้าน
ทิฎฐิสามัญญตา (X̅ = ๓.๕๓๑๕)ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง คือ ด้านสาธารณโภคี 
(X̅ = ๓.๔๖๙๕) และด้านสีลสามัญญตา (X̅ =๓.๔๘๒๐)
ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลัก สาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอแม่วงก์  จังหวัดนครสวรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางแสดงให้เห็นว่าการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ยังไม่สามารถบริหารงานตามหลักสาราณียธรรมได้ครบทุกด้านการบริหารงานยังขาดตก บกพร่องในเรื่องเหล่านี้ควรจะต้องได้รับการพัฒนาอีกมากการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลจะแสดงออกมาในรูปของผลงานเพราะว่าผลงานจะเป็นเครื่องวัดความสามารถ ทางการบริหารและเมื่อนำหลักสาราณียธรรมมาบริหารงานในองค์การบริหารส่วนตำบลมาก เพียงไรย่อมส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าของคนในชุมชนให้ได้รับความสุขอย่างถ้วนหน้า แต่ตรงกันข้ามหากการบริหารงานของอบต.ในแต่ละด้านบกพร่องย่อมเกิดความเสียหายต่อ การบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลโดยรวม

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕