หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ชนกพร เทียมวิไล
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๑ ครั้ง
ภาวะผู้นำเชิงพุทธสำหรับการบริหารสถานศึกษา(การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : ชนกพร เทียมวิไล ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ดร.อดิศัย กอวัฒนา
  ผศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๖ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำเชิงพุทธสำหรับการบริหารสถานศึกษา มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่สอดคล้องกับภาวะผู้นำเชิงพุทธและการบริหารสถานศึกษา  ๒) เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารตามหลักพุทธธรรม ๓) เพื่อศึกษาแนวทาง  การประยุกต์ใช้ภาวะผู้นำเชิงพุทธสำหรับการบริหารสถานศึกษาตามหลักพุทธธรรม

ในการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ศึกษาจากเอกสารต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงหลักพุทธธรรมที่มีความสอดคล้องกับภาวะผู้นำและการบริหารสถานศึกษา ด้านงานวิชาการ ด้านงานบุคคล ด้านงานงบประมาณ และด้านงานทั่วไป ผู้วิจัยได้วิจัยโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒ และผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๓ จำนวน ๑๓ รูป/คน เพื่อทราบถึงแนวทางการนำหลักสัปปุริสธรรม ๗ ไปประยุกต์ใช้กับการบริหารสถานศึกษา ๔ ด้าน 
ผลการวิจัย พบว่า หลักพุทธธรรมที่มีความสอดคล้องกับภาวะผู้นำเชิงพุทธและ การบริหารสถานศึกษา มีดังนี้ 
ด้านภาวะผู้นำเชิงพุทธมีหลักพุทธธรรมที่มีความสอดคล้องด้วยกัน จำนวน  ๑๙ หลักธรรม ได้แก่ กัลยาณมิตตตา โยนิโสมนสิการ ธรรมคุ้มครองโลก ๒ ธรรมทำให้งาม ๒ ธรรมมีอุปการะมาก ๒   กุศลมูล ๓ สันโดษ ๓ สุจริต ๓ อธิปไตย ๓ ฆราวาสธรรม ๔ พรหมวิหาร ๔ สังคหะวัตถุ ๔ อิทธิบาท ๔กัลยาณมิตรธรรม ๗ สัปปุริสธรรม ๗ อปริหานิยธรรม ๗ อริยทรัพย์ ๗ ทศพิธราชธรรม พละ ๕
ด้านงานวิชาการ มีหลักพุทธธรรมที่มีความสอดคล้องด้วยกัน ๑๑ หลักธรรม ได้แก่  กัลยาณมิตตตา โยนิโสมนสิการ  ธรรมทำให้งาม ๒ ธรรมมีอุปการะมาก ๒ สุจริต ๓ ฆราวาสธรรม ๔ สังคหะวัตถุ ๔ อิทธิบาท ๔  กัลยาณมิตรธรรม ๗  พละ ๕ สัปปุริสธรรม ๗
ด้านงานบุคคล มีหลักพุทธธรรมที่มีความสอดคล้องด้วยกัน ๑๕ หลักธรรม ได้แก่  กัลยาณมิตตตา โยนิโสมนสิการ ธรรมคุ้มครองโลก ๒ ธรรมทำให้งาม ๒ กุศลมูล ๓ สุจริต ๓ อธิปไตย ๓ ฆราวาสธรรม ๔ พรหมวิหาร ๔ สังคหะวัตถุ ๔ กัลยาณมิตรธรรม ๗ สัปปุริสธรรม ๗ อปริหานิยธรรม ๗ อริยทรัพย์ ๗ ทศพิธราชธรรม 
ด้านงานงบประมาณ มีหลักพุทธธรรมที่มีความสอดคล้องด้วยกัน ๑๔ หลักธรรม ได้แก่ โยนิโสมนสิการ อัปปมาทะ ธรรมคุ้มครองโลก ๒ ธรรมมีอุปการะ ๒ กุศลมูล ๓ ปัญญา ๓ สุจริต ๓ สันโดษ ๓ พละ ๕ เบญจธรรม สัปปุริสธรรม ๗ อริยทรัพย์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ทศพิธราชธรรม 
ด้านงานทั่วไป มีหลักพุทธธรรมที่มีความสอดคล้องด้วยกัน ๒๒ หลักธรรม ได้แก่  โยนิโสมนสิการ ธรรมอันทำให้งาม ๒ ธรรมมีอุปการะ ๒ โกศล ๓ ปัญญา ๓ สุจริต ๓ สันโดษ ๓ ฆราวาสธรรม ๔ พรหมวิหาร ๔ สังคหะวัตถุ ๔ อิทธิบาท ๔ พละ ๕ เบญจธรรม เบญจศีล ทิศ ๖ กัลยาณมิตรธรรม ๗ สาราณียธรรม ๖ สัปปุริสธรรม ๗ อปริหานิยธรรม ๗ อริยทรัพย์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ทศพิธราชธรรม
การบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ พบว่า  หลักสัปปุริสธรรม ๗ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี เพราะว่าหลักสัปปุริสธรรม ๗ เป็นหลักธรรมที่มีความครอบคลุมและสอดคล้องกับการบริหารสถานศึกษา  ด้านงานวิชาการ ด้านงานบุคคล ด้านงานงบประมาณ ด้านงานทั่วไป และเป็นหลักพุทธธรรมสำหรับคนดี มีความสําคัญต่อการเป็นผู้นําที่มีภาวะผู้นําเชิงพุทธ 
สำหรับแนวทางในการนำหลักสัปปุริสธรรม ๗ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรศึกษาหลักสัปปุริสธรรม ๗ ให้เกิดองค์ความรู้กับตนเองก่อน แล้วนำสัปปุริสธรรม ๗ มาตีความและนำไปเปรียบเทียบกับการบริหารสถานศึกษาแต่ละด้านว่าควรใช้หลักการอย่างไร และที่สำคัญผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ และ  มีประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษา มีความรู้ มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้หลัก  สัปปุริสธรรม ๗ เป็นอย่างดี นอกจากต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักสัปปุริสธรรม ๗ แล้ว ผู้บริหารต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักของการบริหารสถานศึกษาด้วย เพื่อการบริหารสถานศึกษาที่จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วยความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ 

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕