หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระเดชา กิตฺติโก (โชติธราธรรม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
การบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียน ธรรมภิรักษ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระเดชา กิตฺติโก (โชติธราธรรม) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สมศักดิ์ บุญปู่
  ผศ. ดร. สิน งามประโคน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การศึกษาเรื่อง การบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียน       ธรรมภิรักษ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนธรรมภิรักษ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนธรรมภิรักษ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู เจ้าหน้าที่ และพนักงานโรงเรียนธรรมภิรักษ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา ๒๕๕๖ จำนวน ๑๒๙ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

ผลการศึกษาพบว่า
การบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนธรรมภิรักษ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน ๑๑๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๔๗ อายุไม่เกิน ๓๐ ปี จำนวน  ๕๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๕๓ ระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน ๙๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๗๗ ตำแหน่งหน้าที่เป็น ครู จำนวน ๗๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๘.๑๔ ประสบการณ์ทำงานไม่เกิน ๓ ปี จำนวน ๔๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๕.๖๕ การบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนธรรมภิรักษ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ ๓.๗๖ เมื่อศึกษารายด้านพบว่า การบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนธรรมภิรักษ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านปิยวาจา รองลงมา คือ ด้านอัตถจริยา ด้านสมานัตตตา และด้านทาน ตามลำดับ
ปัญหา อุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนธรรมภิรักษ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านทาน คือ ผู้บริหารควรมีการให้การส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรได้พัฒนาการเรียนการสอน โดยการสร้างเครื่องมือ และสื่อการสอน, ด้านปิยวาจา คือ ผู้บริหารควรมีการกล่าวคำติเตียนผู้ร่วมงานด้วยความจริงใจ พร้อมทั้งชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์, ด้านอัตถจริยา คือ ผู้บริหารควรมีการอนุเคราะห์แก่ผู้ร่วมงาน และผู้อื่นอย่างเสมอภาค ไม่ควรเลือกปฏิบัติ และด้านสมานัตตตา คือ ผู้บริหารควรมีการควบคุม ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕