หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาบุญยิ่ง ธมฺมธโร (สังข์สุข)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขา ในการพัฒนานักเรียน โรงเรียนวัด ตำหนักใต้ (วิลาศโอสถานนท์นุเคราะห์) อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาบุญยิ่ง ธมฺมธโร (สังข์สุข) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๑๒/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสม กลฺยาโณ
  ดร.บัว พลรัมย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

  การวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขา ในการพัฒนานักเรียน โรงเรียนวัดตำหนักใต้ (วิลาศโอสถานนท์นุเคราะห์) อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาหลักไตรสิกขาในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาศึกษาการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนานักเรียนโรงเรียนวัดตำหนักใต้ (วิลาศโอสถานนท์นุเคราะห์) อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในศึกษาการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนานักเรียนโรงเรียนวัดตำหนักใต้ (วิลาศโอสถานนท์นุเคราะห์) อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับประชากรกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียน โรงเรียนวัดตำหนักใต้ (วิลาศโอสถานนท์นุเคราะห์)  กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒๕๐ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อบรรยายข้อมูลสถานภาพส่วนบุคคลหรือตัวแปรต้น 

ผลการวิจัยพบว่า   
๑)การประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนานักเรียนโรงเรียนวัดตำหนักใต้ (วิลาศ โอ
สถานนท์นุเคราะห์) อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ๔.๒๒  และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า  นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนานักเรียน ด้านศีลอยู่ในระดับมากที่สุด ๔.๓๕  รองลงมา ด้านสมาธิ อยู่ในระดับ มากที่สุด ๔.๒๑   และสุดท้าย อยู่ในระดับ มาก ๔.๑๐  
๒) ปัญหา และข้อเสนอแนะต่อการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนานักเรียนโรงเรียนวัดตำหนักใต้ (วิลาศ โอสถานนท์นุเคราะห์) อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 
ด้านศีล โรงเรียนยังขาดการร่วมมือกับทางโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนยังไม่เพียงพอ โรงเรียนมีแนวทางให้ปฏิบัติตนต่อเพื่อนร่วมงานโดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่หมู่คณะโรงเรียนได้มีการรณรงค์เรื่องการลด ละ เลิกอบายมุขเช่นดื่ม  ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข โรงเรียนควรมีการร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนให้ครอบคลุมโรงเรียนควรสร้างเครือข่ายในการร่วมงานเพื่อพัฒนาปัญญาให้กับนักเรียนโรงเรียน ควรมีการรณรงค์เรื่องลด ละ เลิก อบายมุขทุกสิ่งภายในโรงเรียน โดยเฉพาะผู้นำในโรงเรียน 
ด้านสมาธิ โรงเรียนยังฝึกฝนให้นักเรียนได้มีกำลังใจมีความมุ่งมั่นต่อการพัฒนางานให้บรรลุเป้าหมายยังไม่เต็มที่โรงเรียนมีการฝึกฝนให้นักเรียนศึกษาหรือปฏิบัติหน้าที่โดยความตั้งใจและอดทน ยังไม่ดีพอ โรงเรียนขาดการให้มีการฝึกอบรมจิตโดยการนั่งสมาธิอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะโรงเรียนควรฝึกฝนนักเรียนให้มีกำลังใจที่ส่งผลต่อความมุ่งมันต่อการทำงานให้บรรลุเป้าหมายโรงเรียนควรฝึกฝนนักเรียนให้มีการปฏิบัติหน้าที่โดยความตั้งใจและอดทนโรงเรียนควรมีการฝึกฝนอบรมจิตใจให้กับนักเรียนโดยการให้นั่งสมาธิอย่างต่อเนื่อง
ด้านปัญญา โรงเรียนยังขาดการให้ความรู้ด้วยการศึกษาและฝึกฝนตนจากพระภิกษุสามเณรอย่างสม่ำเสมอโรงเรียนยังขาดการให้นักเรียนศึกษาธรรมะหรือปรัชญาแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตโรงเรียนยังขาดการสอนให้นักเรียนคิดในกระบวนการแก้ไขปัญหาเป็นขั้นตอนและรอบคอบ ข้อเสนอแนะโรงเรียนควรให้ความรู้ด้วยการศึกษาและฝึกฝนจากพระภิกษุสามเณรอย่างสม่ำเสมอ โรงเรียนควรมีพระภิกษุเข้ามาสอนธรรมะในโรงเรียน อย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ต่อการประยุกต์ธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวันแก่นักเรียน โรงเรียนควรสร้างสถานการณ์จำลองให้นักเรียนได้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพื่อให้นักเรียนได้คิดและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้
 

ดาวน์โหลด

 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕