หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายปกรณ์ มหากันธา
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๑ ครั้ง
รูปแบบและกระบวนการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิงพุทธบูรณาการ (พุทธศาสนาดุษฎีบัณฑิต (พระพุทธศาสนา))
ชื่อผู้วิจัย : นายปกรณ์ มหากันธา ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๖/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระใบฎีกาเสน่ห์ ญาณเมธี,ดร. นธ.เอก, พธ.บ. (ศาสนา), B.A. ( Religion) M.A. (Philosophy), Ph.D. (Philosophy)
  ดร.ไพฑูรย์ รื่นสัตย์ ป.ธ.๗, ศน.ม., M.Phil., Ph.D. (Buddhist Studies)
  รศ.อุเทน ปัญโญ ค.บ. เกียรตินิยม, ค.ม. (วิจัยการศึกษา)
วันสำเร็จการศึกษา : 2557
 
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักการบริหารองค์กรตามแนวทางพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาล และ๓) เพื่อสร้างรูปแบบและกระบวนการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิงพุทธบูรณาการ ทำการศึกษา ความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลและจากแบบสอบถาม เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนทั่วไป ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดลำพูน จำนวน ๕๘ แห่ง (ใน ๘ อำเภอ) จำนวน ๔๗๔ คน (เป็นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑๗๔ คน และประชาชนทั่วไป ๓๐๐ คน) และทำการสรุปผลการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง จำนวน ๕ รูป/คน ในจังหวัดลำพูน

ผลการศึกษาวิจัย พบว่า

หลักพุทธธรรมในการบริหารองค์กร ตามแนวทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ อธิปไตย 3 อคติ ๔ พรหมวิหาร ๔ อิทธิบาท ๔ สังคหวัตถุ ๔ อปริหานิยธรรม ๗ สัปปุริสธรรม ๗ หลักราชธรรม 10 หรือทศพิธราชธรรม และหลักจักรวรรดิวัตร

หลักการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักธรรมาภิบาล ปรากฏในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.. ๒๕๔๒ กำหนดหลักการปฏิบัติไว้ ๖ หลัก ได้แก่ ๑) หลักนิติธรรม ๒) หลักคุณธรรม ๓) หลักความโปร่งใส ๔) หลักการมีส่วนร่วม ๕) หลักความรับผิดชอบ และ ๖) หลักความคุ้มค่า 

ในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำแนกตามหลักพุทธธรรม และหลักธรรมาภิบาล กลุ่มผู้บริหาร มีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบและกระบวนการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิงพุทธบูรณาการ ระดับเกณฑ์ประเมิน อยู่ในระดับมากทุกรายการ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ หลักอิทธิบาท ๔ หลักสังคหะวัตถุ ๔ หลักพรหมวิหาร ๔ หลักสัปปุริสธรรม ๗ หลักคุณธรรม หลักนิติธรรม หลักความคุ้มค่า หลักความรับผิดชอบ หลักการมีส่วนร่วม และน้อยที่สุดคือ หลักความโปร่งใส ตามลำดับกลุ่มประชาชนทั่วไป มีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบและกระบวนการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิงพุทธบูรณาการ ระดับเกณฑ์ประเมิน อยู่ในระดับมากทุกรายการ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ หลักอิทธิบาท ๔ หลักสังคหวัตถุ ๔ หลักพรหมวิหาร ๔ หลักสัปปุริสธรรม ๗ หลักคุณธรรม หลักความคุ้มค่า หลักความรับผิดชอบ หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส และน้อยที่สุดคือ หลักการมีส่วนร่วม ตามลำดับ ขณะเดียวกันกลุ่มผู้บริหารระดับสูง ของจังหวัดลำพูน จำนวน ๕ รูป/คน มีความเห็นที่สอดคล้องกัน ในการนำเอาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มาบูรณาการในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลายหัวข้อธรรม ได้แก่ ไตรสิกขา สมาธิ ๗ สังคหวัตถุ ๔ สัปปุริสธรรม ๗ อิทธิบาท ๔ พรหมวิหารธรรม หิริโอตัปปะ โสรัจจะ   มโนธรรม คุณธรรม ศรัทธา การมีสติ ลดทิฏฐิและทศพิธราชธรรม ๑๐ 

รูปแบบและกระบวนการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิงพุทธบูรณาการ มีลำดับขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารองค์กร ด้วยการปลูกฝังค่านิยมที่พึงประสงค์ 2) บูรณาการนำหลักการบริหารทางพุทธศาสนาและหลักการบริหารแบบธรรมมาภิบาล เพื่อกำหนดค่านิยมที่    พึงประสงค์ขององค์กร 3) กำหนดวิธีการบริหารองค์กรให้ความรู้ โดยการสัมมนา ฝึกอบรม เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาบุคลากรและการพัฒนาองค์กร และ4) กำหนดลักษณะการบริหารที่พึงประสงค์ เพื่อเกิดประโยชน์ตน (องค์กร) เกิดประโยชน์ผู้อื่น (ประชาชน) และเกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย สามารถเป็นต้นแบบและเป็นแบบอย่างที่ดี ให้แก่องค์กรอื่นๆ ต่อไป.

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕