หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาประสงค์ กิตฺติญาโณ (พรมศรี)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๗ ครั้ง
การอธิบายความเรื่องจิตในพุทธศาสนานิกายเซน
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาประสงค์ กิตฺติญาโณ (พรมศรี) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาประมวล ฐานทตฺโต, ดร.
  .
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องจิตในพุทธศาสนาเถรวาทกับพุทธศาสนานิกายเซน และเพื่อศึกษาพัฒนาการอธิบายความเรื่องจิตในพุทธศาสนานิกายเซน  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  วิธีการดำเนินการ คือ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ อธิบายความ เรียบเรียง แล้วนำเสนอผลการวิจัย  จากการศึกษาพบว่า 

พุทธศาสนาเถรวาทได้กล่าวถึงจิตโดยมุ่งประเด็นเพื่อชำระจิตให้หลุดพ้นจากกิเลสตัณหาและอุปาทาน พื้นฐานของจิตเป็นธรรมชาติรับรู้อารมณ์อยู่ตลอดเวลา  เกิดดับสืบต่อเป็นสันตติ เป็นตัวนำกำหนดพฤติกรรม และเป็นเหตุให้เกิดนามรูป  สรรพสิ่งในโลกทั้งรูปและนามไม่มีสิ่งใดมีตัวตนอยู่โดยแก่นแท้ของมันเอง  ต้องอิงอาศัยเหตุอาศัยปัจจัย  วิธีการปฏิบัติพัฒนาจิตของเถรวาทมีข้อปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นระบบ ฝ่ายพุทธศาสนานิกายเซนเห็นว่าโลกไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจากจิต  การพัฒนาจิตมุ่งตรงสู่ความรู้แจ้งคือ ซาโตริ ด้วยวิธีการปฏิบัติแบบจิตสู่จิต แต่ไม่มีคำอธิบายวิธีการปฏิบัติเชิงแบบแผน 

การอธิบายความของพุทธศาสนานิกายเซนใช้คำและตัวอักษรที่แตกต่างกันแต่ความหมายเหมือนกับเถรวาท  เน้นอธิบายความถึงสิ่งสมบูรณ์สูงสุด  มุ่งเน้นอธิบายความลัดตรงสู่จิตไม่ว่าแนวคิดนั้นจะเกี่ยวกับอะไร  ไม่สนใจอธิบายความที่เป็นข้อปลีกย่อย  พุทธศาสนานิกายเซนเน้นปฏิบัติแบบปัญญาวิมุตติ บรรลุแบบฉับพลัน มีเหตุผลเพื่อประยุกต์ให้เข้ากับคนส่วนใหญ่และวิถีชีวิต  แต่ประสบการณ์ทางจิตที่เรียกว่า “ซาโตริ” ถ้าเกิดขึ้นกับใคร ก็เป็นเหตุให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและเป็นอิสระอย่างแท้จริงของชีวิต

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕