หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวศันสนีย์ ชุมพลบัญชร
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๗ ครั้ง
พัฒนาการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในมุมมองทางพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวศันสนีย์ ชุมพลบัญชร ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๓/๒๐๑๔
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ.,ผศ.ดร.
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ.,ผศ.ดร.
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ.,ผศ.ดร.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเรื่องพัฒนาการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในมุมมองทางพระพุทธศาสนา  มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ (๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวคิดของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ  (๒)  เพื่อศึกษาพัฒนาการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในมุมมองทางพระพุทธศาสนา  โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

จากการศึกษาสภาพปัญหาและแนวคิดของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ  พบว่า  แนวคิดในการดำเนินธุรกิจมีรากฐานจากแนวคิดปัจเจกนิยมที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลัก  ทำให้ความสัมพันธ์ในสังคมเกิดขึ้นเพราะมีผลประโยชน์ต่อกัน  เกิดความเข้าใจสรรพสิ่ง         แบบแยกออกเป็นส่วน ๆ (ไม่เป็นองค์รวม)  และสามารถจัดการกับธรรมชาติได้ตามปรารถนาเพื่อบรรลุประโยชน์ส่วนตนสูงสุด  เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมายทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคมและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  จึงเกิดกระแสเรียกร้องจากสังคมให้ธุรกิจดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น  ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (CSR)    

จากการศึกษาพัฒนาการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในมุมมองทางพระพุทธศาสนา  พบว่า  แนวคิดซีเอสอาร์ในปัจจุบันมีรากฐานส่วนหนึ่งจากพระพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยพุทธกาลและพัฒนาโดยนักคิดนักวิชาการต่าง ๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในมุมมองทางพระพุทธศาสนามีลักษณะเป็นเศรษฐกิจแบบทางสายกลาง คือ พอดีโดยเกิดคุณภาพชีวิต  และไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมถึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  เมื่อแสวงหารายได้อย่างถูกต้องชอบธรรมแล้ว  ให้รู้จักแบ่งปันกำไรคืนสู่สังคม   เพื่อเกิดประโยชน์แก่

ผู้อื่นด้วย  เป็นการประสานประโยชน์สุขร่วมกันในสังคม  นอกจากนี้การปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่จัดรูปเป็นระบบบุญกิริยาจะทำให้การดำเนินธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคมได้ทั้งทางกาย  วาจาและใจ  ถือเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ควบคู่กับการพัฒนาจิตใจได้อย่างแท้จริง 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕