หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูนิวาตปิยสวัสดิ์ ปิยวณฺโณ
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๐ ครั้ง
ความคิดเห็นของครูพระสอนศีลธรรมที่มีการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน: ศึกษากรณีครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย : พระครูนิวาตปิยสวัสดิ์ ปิยวณฺโณ ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี ดร. ป.ธ.๙,ศษ.บ.,พธ.บ.,อ.ม.,กศ.ด.
  ผศ. อานนท์ เมธีวรฉัตร ป.ธ.๖,น.ธ.เอก,พธ.บ.,กศ.ม.
  อาจารย์วัฒนะ กัลป์ยาณ์พัฒนกุล ป.ธ.๙,กศ.ม.(บริหารการศึกษา)
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของครูพระสอนศีลธรรมที่มีการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน: ศึกษากรณีครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูพระสอนศีลธรรมที่มีต่อการเรียนการสอนในโรงเรียนจังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูพระสอนศีลธรรมที่มีต่อการเรียนการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนจังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามสถานการณ์ส่วนบุคคลและ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนศีลธรรมของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดนครสวรรค์

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มประชากรของการวิจัยครั้งนี้ ก็คือครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในเขตประถมศึกษา ๒ จังหวดนครสวรรค์ ซึ่งมีครูพระสอนศีลธรรมทั้งสิ้น ๒๑๑ รูป วิธีการสุ่มตังอย่าง ได้ใช้กลุ่มตังอย่างแบบเจาะจง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จากตารางเครซี่และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ๑๓๖ รูป การวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้ สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ One Way ANOVA  หากพบว่า ค่า F ของตัวแปรย่อยใด แตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ ก็จะทำการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference :LSD) และสรุปปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล

             ผลการวิจัยพบว่า

             ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนทั้ง ๗ ด้านคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านจัดการเรียนการสอน ด้านจัดการสื่อทางการเรียนการสอน ด้านจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการจัดกิจกรรมของนักเรียน ปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย รวมทั้งในรายด้านแต่ละด้าน ก็อยู่ในระดับน้อย ส่วนการทดสอบสมมุติฐานทั้ง ๓ ข้อ ก็เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อ ควรให้มีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อต่อยอดการปฏิบัติงาน ด้านหลักสูตร ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการใช้สื่อการสอน และการวัดผลโดยการใช้แบบสอบถาม เทคนิค เคลฟาย

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕