หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาธนพัฒน์ ฐิตสาโร (สีหานาม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๒ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์ผลการรักษาอุโบสถศีลของชาวบ้านโนนเมืองที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาธนพัฒน์ ฐิตสาโร (สีหานาม) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๑๐/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาประมวล ฐานทตฺโต,ดร. ป.ธ. ๖, พธ.บ.(ภาษาไทย),M.A.(Ling), M.A., Ph.D.(Pali&Bud)
  ดร. ประยูร แสงใส ป.ธ. ๔, พ.ม., พธ.บ.(ครุฯ), M.A.(Ed), P.G. DIP. in journalism, Ph.D.(Education)
  ผศ.ดร. โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ ป.ธ. ๗, พ.ม., พธ.บ.(ปรัชญา), M.A.(Bud.), พธ.ด.(พระพุทธศาสนา)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

 

บทคัดย่อ

                      งานการวิจัยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ  คื  เพื่อศึกษาอุโบสถศีลในพระพุทธศาสนาเถรวาท   เพื่อศึกษาวิธีการรักษาอุโบสถศีลของชาวพุทธบ้านโนนเมือง  และเพื่อวิเคราะห์ผลของการรักษาอุโบสถศีลที่นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ     โดยศึกษาภาคสนาม  (Field work) นำบทสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ประกอบวิทยานิพนธ์ให้สมบูรณ์

                      ผลการวิจัยพบว่า  อุโบสถศีล  เป็นการสมาทานข้อวัตรปฏิบัติในวันอุโบสถ  คือวันพระในวันข้างขึ้น - ข้างแรม ๘,๑๔,๑๕ ค่ำ   ศีล ๘ ที่รักษาในวันอุโบสถ เรียกว่า อุโบสถศีล  ส่วนศีล ๘ ที่รักษาในวันปกติเรียกว่า ศีล ๘ หรืออัฏฐศีล อุโบสถศีลมีความสำคัญมากในฐานเป็นเครื่องมือกำจัดกิเลสอย่างหยาบ  เพราะเป็นศีลที่พุทธศาสนิกชนควรรักษาในวันพระนับเวลาวันหนึ่งและคืนหนึ่ง  เป็นการประพฤติพรหมจรรย์พักชีวิตตามปกติไว้ชั่วคราวมาดำเนินชีวิตในทางธรรม  เพื่อเสริมสร้างมนุษย์ให้บรรลุจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ตลอดจนเสริมสร้างสังคมให้สงบสุข

                      การรักษาอุโบสถศีลของชาวบ้านโนนเมือง ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาอุโบสถศีล อันเป็นศีลที่พิเศษของฆราวาสผู้ครองเรือน ทั้งในเรื่องของวันที่กำหนดให้เป็นวันอุโบสถ และข้อวัตรปฏิบัติที่ละเอียดอ่อน ในปัจจุบันอุบาสกอุบาสิกานิยมมารักษาอุโบสถศีลที่วัดมากกว่าการรักษาที่บ้าน  เพราะการมาที่วัดทำให้ผู้รักษาศีลได้ทำบุญด้วย  มีการให้ทาน ฟังธรรม  และปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานได้ดีกว่าทำที่บ้าน  อันเป็นการบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุตามหลักไตรสิกขา  คือ ศีล สมาธิ ปัญญา  เพื่อให้ได้รับอานิสงส์จากการปฏิบัติอย่างสูงสุด

                      ส่วนผลของการรักษาอุโบสถศีลที่นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตนั้น อุบาสกอุบาสิกาชาวบ้านโนนเมืองมีสุขภาพทางกายที่แข็งแรง  ช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องดื่มและการแต่งตัวหยุดการทำงานที่รับผิดชอบไว้ชั่วคราว  ทั้งยังส่งผลดีต่อสุขภาพจิตเป็นการฝึกสติให้รู้เท่าทันความคิด  และภาคภูมิใจที่ได้ทำในสิ่งดีงาม  มีกำลังใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทำให้ครอบครัวมีความสุข  เพราะการรักษาอุโบสถศีลเป็นการปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลสกาม  นอกจากนี้ยังเกิดประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองและเศรษฐกิจอีกด้วย

  ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕