หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สิบตำรวจเอกชูชาติ อยู่ยืน
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๘ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์ความศรัทธาและแนวทางปฏิบัติต่อพระเครื่อง ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น
ชื่อผู้วิจัย : สิบตำรวจเอกชูชาติ อยู่ยืน ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต, ดร., พธ.บ. (ปรัชญา), ศศ.ม (ปรัชญา),Ph.D. (Ed.)
  ผศ.ดร. โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ ป.ธ.๗, พธ.บ. (ปรัชญา), M.A.( Bud.), พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
  ดร.ประยูร แสงใส, ป.ธ.๔.,พ.ม., พธ.บ., M.A., (Ed.) P.G.Dip.in Journalism, Ph.D. (Ed.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                        การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อความศรัทธาและพระเครื่องในสังคมไทย  และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลของความศรัทธาและ  แนวทางการปฏิบัติตนต่อพระเครื่องของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพจากเอกสารโดยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายจำนวน  ๓๐ นาย นำผล    ที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา     ผลการศึกษา พบว่า  ศรัทธาเป็นธรรมเบื้องต้นหรือเป็นสิ่งที่จำเป็นพื้นฐานในวิถีทางแห่งชาวพุทธ เพราะบุคคลผู้มีศรัทธาจะเป็นเหตุให้น้อมใจไปทำความดีต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ศรัทธามีหน้าที่ทำลายความสงสัย เหตุให้เกิดศรัทธามีหลายทาง เช่น รูป เสียงที่ปรากฏ  รอบข้าง เพื่อนผู้เป็นกัลยาณมิตร เป็นต้น คนมีศรัทธาจะมีลักษณะอยากพบคนมีศีล อยากฟังธรรม และอานิสงส์ของศรัทธาทำให้ได้พบแต่คนดี มีความตระหนักในธรรมเสมอ

                        การเผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากใช้หลักธรรมแล้ว ยังมีสิ่งอื่นอีกเช่น วัตถุมงคลที่เนื่องด้วยพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นตัวเชื่อมด้านความเชื่อที่ศรัทธาเลื่อมใสในหลักธรรมคำสอน แต่ใช้อุบายที่ถูกจริตของผู้นับถือ เนื่องจากมีศาสนิกชนบางส่วนไม่สามารถที่จะเข้าถึงหลักธรรมะได้โดยตรง  วิธีการหนึ่งก็คือ การทำวัตถุมงคลให้สวมใส่ โดยเฉพาะพระเครื่องที่ถือว่าพกติดตัวไปในสถานที่ต่างๆ ได้สะดวก  แต่อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ของการสร้างพระเครื่อง ก็เพื่อให้ศาสนิกชนเข้าถึงพระรัตนตรัย ถือเอาเป็นที่ระลึกและที่พึ่งทางใจ

                   เจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น มีความศรัทธาต่อพระเครื่อง                  ในฐานะเป็นเครื่องเตือนใจ  เช่น  ทำให้มีสติรู้ระลึกในการทำความดี มีความละอายแก่ใจของตนเอง มีที่พึ่งทางใจ มีการใช้หลักสมาธิจากการอาราธนาพระเครื่อง และควบคุมตัวเอง ไม่ละเมิดต่อศีลธรรม  พระเครื่องนำมาใช้ในฐานะเป็นวัตถุมงคลที่มีผลต่อความมั่นใจในการปฏิบัติงาน เช่น แคล้วคลาดปลอดภัย เมตตามหานิยม   แนวทางการปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการนับถือพระเครื่อง เช่น ทำให้ผู้สวมใส่มีสติ  ทำบุญบริจาคสิ่งของช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์  รักษาศีล ๕ ตามหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนที่ดี  เข้าวัดฟังธรรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีสติ รอบคอบ รู้จักใช้ปัญญาพิจารณาเหตุและผลในการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจของประชาชน และได้รับความรู้ทางศาสนาตั้งแต่หลักคำสอน พิธีกรรมทั้งของพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ รวมทั้งลัทธิต่างๆ  เพิ่มขึ้นด้วย

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕