หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปลัดปิยศักดิ์ ปิยธมฺโม ( พีรมณีวงศ์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๑ ครั้ง
ความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักสังคหวัตถุ ๔ : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
ชื่อผู้วิจัย : พระปลัดปิยศักดิ์ ปิยธมฺโม ( พีรมณีวงศ์) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร. สุรพล สุยะพรหม พธ.บ., M.A. Ph.D.(Pol.Sc.)
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญฺ ประโยค ๑ – ๒, น.ธ.เอก, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง), ศศ.ม. (พัฒนาสังคม)
  ดร. ยุทธนา ปราณีต พธ.บ.,ร.บ., M.A. Ph.D.(Pol.Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๔
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักสังคหวัตถุ ๔ (๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ในองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (๓) ศึกษาแนวการพัฒนาและข้อเสนอแนะการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ตามหลักสังคหวัตถุ ๔กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่มาใช้บริการในองค์การบริหารส่วนตำบล ๓ ตำบลคือ ๑. ตำบลแม่กลอง ๒.ตำบลโมโกร และ ๓.ตำบลแม่ละมุ้ง จำนวน ๓๘๖  คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการส่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ซึ่งแบ่งเป็น ๔ ตอน คือตอนที่ ๑ เป็นข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม  ตอนที่ ๒ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ เกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ในองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก และตอนที่ ๓ เป็นแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการให้การบริการประชาชน ตามหลักสังคหวัตถุ ๔ : กรณีศึกษาการบริหารส่วนตำบลในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อการวิจัยความสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) 

 

 

ผลการวิจัย พบว่า

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง ๓๑-๔๐ ปีมีการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี มีอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง ๑๐,๐๐๑-๒๐,๐๐๐ บาท และจำนวนครั้งของประชาชนที่มาใช้บริการมากที่สุดจำนวน ๑-๒ ครั้ง

              ความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักสังคหวัตถุ ๔  คือ ด้านทาน ด้านปิยวาจา ด้านอัตถจริยา และสมานัตตตา พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน

                  ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้

              จากผลการวิจัยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะซึ่งเป็นแนวทางในการยกระดับความคิดเห็นในการให้บริการประชาชน ตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ดังนี้

              ๑. ในการให้ความคิดเห็นของประชาชนควรมีการพัฒนาด้านการบริการอย่างไม่หยุดยั้งและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น

              ๒. เจ้าหน้าที่มีการแสดงออกที่เป็นมิตรและจริงใจ  มีความยืดหยุ่นในการให้บริการ

              ๓. ในการให้ความคิดเห็นของประชาชนควรมีการเน้นการบริการที่สามารถนำมาซึ่งความพึงพอใจแก่ผู้รับและส่งผลย้อนกลับไปยังผู้ให้บริการ โดยทำให้รู้สึกว่าการได้ช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่า

              ๔. ในการให้ความคิดเห็นของประชาชนควรมีการยึดหลักสังคหวัตถุ ๔ ในด้านทาน โดยการเสียสละประโยชน์สุขของตนเองและยึดประโยชน์สุขของประชาชนที่มาใช้บริการเป็นกิจหลัก

              ๕. ในการให้ความคิดเห็นของประชาชนควรมีการสนทนาและให้คำชี้แนะแก่ผู้ที่มาใช้บริการด้วยปิยวาจา

              ๖. ในการให้บริการประชาชนควรมีการสงเคราะห์และอนุเคราะห์ในสิ่งที่ก่อประโยชน์ ให้แก่ประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน อันเป็นการยึดตามหลัก
อัตถจริยา

              ๗. ในการให้บริการประชาชนควรมีความสม่ำเสมอในการปฏิบัติหน้าที่ หรือมีการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นด้านการให้บริการอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ถือเป็นการยึดตามหลักสมานัตตตา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งเป็นการสร้างความนิยมและไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

ดาวน์โหลด 

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕