หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางดลนพร วราโพธิ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๘ ครั้ง
การบริหารงานมหาวิทยาลัยของรัฐตามหลักพรหมวิหาร ๔ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ชื่อผู้วิจัย : นางดลนพร วราโพธิ์ ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม, พ.ม., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol.Sc.)
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโ ประโยค ๑-๒ ,น.ธ. เอก,พธ.บ.(เกียรตินิยมอันดับ ๑), ศศ.ม.(พัฒนาสังคม)
  ดร.ภูมินาถ ชื่นชมรัตน์ ปร.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๓
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาการบริหารงานมหาวิทยาลัยของรัฐตามหลักพรหมวิหาร ๔ ตามความคิดเห็นของบุคลากร  (๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานมหาวิทยาลัยของรัฐ ตามหลักพรหมวิหาร ๔ โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล (๓) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของบุคลากรในการนำหลักธรรมพรหมวิหาร ๔ ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัย      เชิงสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จำนวน ๓๑๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ ๐.๙๓๓ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD)

 

ผลการวิจัยพบว่า

             ๑.ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานมหาวิทยาลัยของรัฐตามหลักพรหมวิหาร ๔ บุคลากรมีความคิดเห็นว่ามหาวิทยาลัยของรัฐมีการบริหารงานตามหลัก    พรหมวิหาร ๔ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๔๗) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นต่อ           การบริหารงานมหาวิทยาลัยของรัฐตามหลักพรหมวิหาร ๔ อยู่ในระดับมาก ในด้านมุทิตา สำหรับด้านเมตตา  ด้านกรุณา และด้านอุเบกขา บุคลากรมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง

             ๒.ความคิดเห็นของบุคลากรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ต่อการบริหารงานมหาวิทยาลัยของรัฐตามหลักพรหมวิหาร ๔ จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลโดยรวม บุคลากรที่มีเพศ ระดับการศึกษา และตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานมหาวิทยาลัยของรัฐตามหลักพรหมวิหาร ๔ แตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ สำหรับบุคลากรที่มีอายุ และสถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานมหาวิทยาลัยของรัฐตามหลักพรหมวิหาร ๔ ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

             ๓.ปัญหาส่วนใหญ่ของการนำหลักพรหมวิหาร ๔ ไปใช้กับการบริหารงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ส่วนใหญ่ตอบเกี่ยวกับตัวผู้บริหารขาดการนำหลัก    พรหมวิหารไปใช้ในการบริหาร ความไม่เป็นกลางของผู้บริหาร ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดสรรคนให้ตรงกับงาน เรื่องการประเมินขั้น ประเมินตำแหน่ง และไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา ดังนั้นผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการให้ผู้บริหารมีความเป็นกลาง ควรดูแลเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้เกิดความสุข สนุกกับการทำงานด้วย ผู้บริหารต้องมีความกรุณาต่อผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน มีการจัดสรรงานให้เท่าๆ กัน และเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชามี ความทุกข์ ต้องช่วยเหลือและหาวิธีช่วยหรือผ่อนจากหนักให้เป็นเบา พูดให้กำลังใจกับผู้ใต้บังคับบัญชาที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่รักชอบเฉพาะผู้ใต้บังคับบัญชาคนใดคนหนึ่ง และควรให้โอกาสทั้งสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชาในการที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีความเจริญก้าวหน้า

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕