เข้าชม : ๑๙๙๖๗ ครั้ง |
รูปแบบโครงการปฏิบัติธรรมที่เหมาะสมสำหรับชาวต่างประเทศในประเทศไทย |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
นางสาวดวงกมล ทองคณารักษ์ |
ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๓ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
ผศ.ดร.พระสุธีธรรมานุวัตร (เทียบ สิริญาโณ/มาลัย)ป.ธ. ๙, M.A., Ph.D (Pāli) |
|
ผศ.ดร.รท.บรรจบ บรรณรุจิ ป.ธ. ๙, พธ.บ., อ.ม., Ph.D (Buddhist Philosophy) |
|
ผศ.ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร ป.ธ. ๙, พธ.บ., พธ.ม., Ph.D (Pāli& Buddhist Study) |
วันสำเร็จการศึกษา : |
30 March 2011 |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์เรื่องรูปแบบโครงการปฏิบัติธรรมที่เหมาะสมสำหรับชาวต่างประเทศในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ข้อ (๑) เพื่อศึกษาการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท ข้อ(๒) เพื่อศึกษาโครงการปฏิบัติธรรมสำหรับชาวต่างประเทศในประเทศไทยและข้อ(๓)เพื่อพัฒนา รูปแบบโครงการปฏิบัติธรรมที่เหมาะสมสำหรับชาวต่างประเทศในประเทศไทย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งใช้วีธีการสังเกตโดยมีส่วนร่วม (Participant Observation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth-Interview) จากกรณีศึกษา โครงการปฏิบัติธรรมสำหรับชาวต่างประเทศวัดมหาธาตุ (คณะ ๕), โครงการปฎิบัติธรรม “The Middle Way Meditation Retreat”, ณ สวนป่าหิมวันต์ อ.ภูเรือ จ.เลย, โครงการปฏิบัติธรรมสวนโมกข์นานาชาติ (International Dhamma Hermitage), จ.สุราษฎร์ธานี และวัดป่านานาชาติ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
ผลการวิจัยพบว่าการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท ทั้งสมถและวิปัสสนา ตลอดจนปัจจัยที่เกื้อกูลการปฏิบัติธรรม เช่นการตัดปลิโพธ การแสวงหากัลยาณมิตร การเลือกกรรมฐานที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติธรรม และสัปปายะในการปฏิบัติธรรม ล้วนมีผลต่อผู้เข้าปฎิบัติธรรม นอกจากนี้รูปแบบการปฏิบัติธรรมที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติธรรมของชาวต่างประเทศในประเทศไทย ควรมีจัดโครงการปฏิบัติธรรมแยกตามกลุ่มของผู้เข้าปฏิบัติธรรม เช่น การจัดคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจการปฏิบัติแต่ยังไม่พร้อมที่จะเข้าฝึกอบรม โครงการปฏิบัติธรรมเบื้องต้น โครงการปฏิบัติธรรมสำหรับผู้ที่เคยฝึกปฏิบัติมาก่อน และโครงการฝึกอบรมปฏิบัติธรรมขั้นสูง ตลอดจนการจัดบวชให้แก่ชาวต่างชาติที่สนใจ นอกจากนี้ควรประยุกต์หลักสัปปายะ ๗ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสนับสนุนการปฏิบัติธรรม
ดาวน์โหลด |
|
|