หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นฤมล ราชบุรี
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๕ ครั้ง
การบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน เอกชนนอกระบบในกรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : นฤมล ราชบุรี ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระปริยัติวโรปการ, ดร. ป.ธ. ๗,พธ.บ.,พธ.ม., Ph.D.
  รศ.(พิเศษ)ดร.วิชชุดา หุ่นวิไล กศ.บ., M.A.T., Ed.D.
  ผศ. บุญเลิศ จีรภัทร์ B.A.,M.A.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๔
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                      การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ   มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษา  ด้านการวางแผนงาน  ด้านการดำเนินการ  ด้านการตรวจสอบประเมินผล ด้านการพัฒนาปรับปรุง  และด้านการบริหารงานประกันคุณภาพที่สอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา   และศึกษาและเปรียบเทียบคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา   ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ  ด้านคุณภาพครู  ด้านคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน/การเรียนรู้  ด้านคุณภาพผู้เรียน/ผู้จบการศึกษา และด้านการสนับสนุน/ความร่วมมือจากภายนอก  ของโรงเรียนเอกชนนอกระบบในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ผู้บริหารโรงเรียน ๓๐ คนและครูหรือผู้สอน  ๑๙๗ คน ในจำนวน ๓๐ โรงเรียน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ๕  ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  t-test  และ One Way ANOVA    

                      ผลการวิจัยพบว่า

                      ๑. การบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวม  อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าระดับความคิดเห็นต่อการบริหารงานประกันคุณภาพอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านการบริหารงานประกันคุณภาพที่สอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ด้านการวางแผนงาน ด้านการดำเนินการ  ด้านการตรวจสอบประเมินผล และด้านการพัฒนาปรับปรุง

                      ๒. คุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ  ด้านคุณภาพครู  ด้านคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน/การเรียนรู้  ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ  ด้านการสนับสนุน/ความร่วมมือจากภายนอก   และด้านคุณภาพผู้เรียน/ผู้จบการศึกษา        

                      ๓. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษา  จำแนกตาม  เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และ ประเภทโรงเรียน   ผลการเปรียบเทียบ  เมื่อจำแนกตามเพศ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕     เพียงด้านการบริหารงานประกันคุณภาพที่สอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา   จำแนกตาม อายุ  และตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕   จำแนกตามระดับการศึกษาไม่แตกต่างกัน    จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕   เพียง ๓ ด้าน คือ ด้านการวางแผนงาน ด้านการตรวจสอบประเมินผล  ด้านภาพรวม จำแนกตามประเภทโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เพียงด้านการพัฒนาปรับปรุงเท่านั้น  

๔. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครู เกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จำแนกตาม  เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และ ประเภทโรงเรียน ผลการเปรียบเทียบ  เมื่อจำแนกตาม เพศ และ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน  จำแนกตามอายุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เพียง ๒ ด้าน คือ ด้านคุณภาพผู้เรียน/ผู้จบการศึกษา และภาพรวม จำแนกตามระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เพียงด้านคุณภาพผู้เรียน/ผู้จบการศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ยกเว้นด้านการสนับสนุน/ความร่วมมือจากภายนอก ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประเภทโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ใน ๔ ด้าน คือ ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ ด้านคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน/การเรียนรู้ ด้านการสนับสนุน/ความร่วมมือจากภายนอก และด้านภาพรวม

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕