เข้าชม : ๑๙๙๘๖ ครั้ง |
แรงจูงใจเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒ |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
มนตรา ธาดาชัยสินทวี |
ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๓ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระมหาสหัส ฐิตสาโร,ผศ. ป.ธ. ๓, พธ.บ.(ครุศาสตร์),M.A.(Pub Admn), M.A.(Bud). |
|
ผศ.ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย ป.ธ. ๓, พธ.บ., M.Ed., Ph.D. |
|
ผศ.บุญเลิศ จีรภัทร์ วท.บ.(สถิติ) M.A.(พัฒนาการเศรษฐกิจ) |
วันสำเร็จการศึกษา : |
๒๕๕๓ |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “แรงจูงใจเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๒” มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแรงจูงใจเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานครเขต ๒ ๒) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำแนกตามสถานภาพ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน ๓๐๒ คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) โดยการทดสอบค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว One-way ANOVA ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ผลการวิจัย
ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า สถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนักเรียน หากรายได้ของผู้ปกครองไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนการศึกษา รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีนโยบายในการให้การช่วยเหลือ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนมากขึ้น และการตัดสินใจศึกษาต่อของนักเรียน มีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษาและการประกอบอาชีพของผู้ปกครอง ดังนั้นควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาน้อยและประกอบอาชีพที่ไม่ต้องใช้ความรู้ในระดับสูงตระหนักเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการศึกษา เพื่อชี้แนะและส่งเสริมให้บุตรหลานศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของการศึกษา นำไปสู่ความเสมอภาค ในด้านสิทธิเสรีภาพทางการศึกษาเพิ่มขึ้นจากผลการวิจัย สรุปได้ว่า ไม่ปรากฏเหตุอะไรที่เป็นแรงจูงใจเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เป็นความรู้ใหม่ในการวิจัย
ดาวน์โหลด |
|
|