หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายฐพซัย ทตนนท์
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๙ ครั้ง
บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกับการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
ชื่อผู้วิจัย : นายฐพซัย ทตนนท์ ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี, ผศ.ดร.ป.ธ.๙, กศ.ม.,พธ.ด.
  พระโสภณวราภรณ์, ดร. พธ.บ.,กศ.ม. Ph.D.
  ผศ.ดร. สุรพล สุยะพรหม พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol.Sc.)
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ (๑) เพื่อศึกษาบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกับการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน (๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกับการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนกรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบล กับการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนกรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ใช้กลุ่มตัวอย่าง ประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จำนวน ๓๕๙ คน แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย มีการหาคุณภาพโดยการหาความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน ๕ ท่าน และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ ๐.๙๖๕ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้น 2 กลุ่ม และทดสอบค่า เอฟ (F-test) โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรตั้งแต่ ๓ กลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่าความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วย วิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

ผลการวิจัยพบว่า

บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกับการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน คือได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนได้นำไปปฏิบัติในระดับครอบครัว ชุมชน ยังไม่ชยายกว้างออกไป ซึ่งสรุปได้ว่า ดังนี้ คือ

โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (    =  ๓.๙๕ ) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านความพอประมาณ (รู้จักความพอดี อยู่พอดี กินพอดีตามอัตภาพ พึ่งตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีคุณธรรมด้วยความพอเพียง) ความมีเหตุผล (ความเข้าใจด้วยเหตุและผลอย่างเหมาะสมจากความรู้ ภูมิปัญญา สังคม วัฒนธรรมในท้องถิ่น มาปรับแก้ปัญหาและพึ่งตนเองให้ได้อย่างรอบคอบ) ด้านความมีภูมิคุ้มกัน (การเตรียมพร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อโครงการกิจกรรมต่าง ๆ และการดำเนินงานของชุมชนเพื่อตอบสนองปัญหาโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างแท้จริงที่คาดว่าจะเกิดในอนาคตทั้งใกล้และไกล) ด้าน ด้านความรอบรู้ (การมีความรู้ร่วมกันในการจัดการดำเนินชีวิตเศรษฐกิจ หนี้สิน ดิน น้ำ ป่า ข้าวปลาอาหาร การออม การผลิต การบริโภค การลงทุน สุขภาพ สิ่งแวดล้อมทั้งด้านข่าวสารและเทคโนโลยี) ด้านคุณธรรม (การพึ่งพาช่วยเหลือกันมีความซื่อสัตย์ สุจริต ความอดทน ความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต) พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน

ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกับการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน

ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกับการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน พบว่าประชาชนขาดความรู้ ยังไม่มีความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดีพอ กลุ่มต่าง ๆ ของแต่ละชุมชนยังมีความเข้มแข็งไม่เท่ากัน ขาดการติดตามผลและขาดงบประมาณ องค์การบริหารส่วนตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ควรจัดทำแผนงาน นโยบายส่งเสริมการดำเนินชีวิต แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขอเพิ่มงบประมาณให้เพียงพอ ให้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕