หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสหาย กนฺตธมฺโม (จำปาแก้ว)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๘ ครั้ง
หลักธรรมสำหรับผู้บริหารในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสหาย กนฺตธมฺโม (จำปาแก้ว) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  รองศาสตราจารย์ ดร. สมาน งามสนิท B.A, M.A,Ph.D. (Pub. Admin.)
  ผศ.ชวัชชัย ไชยสา BA, MA, (Pol.sc.)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

        การวิจัยเรื่อง หลักธรรมสำหรับผู้บริหารในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาหลักธรรมสำหรับผู้บริหารในพระสุตตันตปิฎกอังคุตตรนิการ ๒) เพื่อรวบรวมหลักธรรมสำหรับผู้บริหารให้เป็นระบบหมวดหมู่ ๓) เพื่อให้ผลการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้บริหารได้    

       วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ในที่นี้ จะวิจัยเฉพาะคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เป็นปฐมภูมิและมีคัมภีร์อื่นๆ เป็นทุติยภูมิ ซึ่งมีวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้    ๑) ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก ว่าด้วยหมวดพระสูตรคือ พระสุตตันปิฎกอังคุตตรนิกาย ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ เอกนิบาต หมวด ๑ จนถึง เอกาทสกนิบาต หมวดที่ ๑๑ ตั้งแต่หมวด ๑ ถึง หมวดที่ ๑๑ นี้ มีหัวข้อธรรมอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารและในพระไตรปิฎกนี้มีอธิบายหลักธรรมแต่ละหัวข้อนั้นว่าอย่างไร  ๒) ศึกษาจากคัมภีร์อรรถกถา ว่าด้วย มโนรถปูรณี ศึกษาว่า ในอรรถกถา มโนรถปูรณี นี้ มีการอธิบายความหมายหลักธรรมสำหรับผู้บริหารในพระสุตตันปิฎกอังคุตตรนิกายนี้ทั้งโดยย่อและพิศดารว่าอย่างไร  ๓) ศึกษาจากตำราวิชาการทั่วไป คือ ศึกษาว่า มีตำราใดบ้างที่กล่าวถึงหลักธรรมของผู้บริหารที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎกอังคุตตรนิกายนี้ ท่านมีความเห็น ความเข้าใจ และมีการอธิบายว่าอย่างไร

      ผลการวิจัย พบว่ามีหลักธรรมที่น่าสนใจนำมาประยุกต์ปรับใช้กับการบริหารมีอยู่จำนวน ๖๐ หัวข้อธรรมด้วยกัน ทั้ง ๖๐ ข้อนี้ ผู้วิจัยได้คัดเลือกมาจากพระไตรปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่มที่ ๑-๔ คือ ตั้งแต่ ทุกนิบาต-ทสกนิบาต ส่วน เอกนิบาต นวกนิบาตและเอกาทสกนิบาตนั้นไม่พบหัวข้อธรรมที่เหมาะสมกับการบริหารจึงไม่ได้นำมาพิจารณา ณ ที่นี้ หลักธรรมทั้ง ๖๐ ข้อนั้น ผู้วิจัยได้นำมาใส่ไว้ในภาคผนวกตอนที่ ๑ และได้คัดเลือกหัวข้อธรรมที่มีเนื้อหาไม่ซ้ำกันหรือซ้ำกันน้อยมาศึกษาวิเคราะห์อีกครั้ง เพื่อให้ได้หลักธรรมที่เหมาะสมแก่การนำไปประยุกต์ปรับใช้กับการบริหาร เมื่อผู้วิจัย ได้พิจารณาดูแล้วพบว่า หลักธรรมที่เหมาะสมแก่การนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการบริหารมีอยู่ทั้งหมด ๑๘ หลักธรรมด้วยกัน อันได้แก่ ธรรมคุ้มครองโลก  ๒ บุคคลหาได้ยาก ๒  ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ ปฏิสันถาร ๒  ธรรม ๒ อย่าง  ธรรมอันให้งาม ๒  ธรรมมีอุปการะมาก ๒  สุจริต ๓ องค์ของพ่อค้า ๓  อธิปไตย ๓  อคติ ๔  สังคหวัตถุ ๔  ปธาน ๔  พละ ๔  วุฒิ ๔  พละ ๕ ธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ สัปปุริสธรรม ๗

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕