หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ จนฺทาโภ
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๑ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาจารวาก
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ จนฺทาโภ ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ, ผศ. ดร., ป.ธ. ๓, พธ.บ.,พธ.ม., Ph.D.
  รศ.ดร. ประเวศ อินทองปาน ป.ธ. ๕, พธ.บ., M.A., Ph.D.
  ดร. วีรชาติ นิ่มอนงค์ ป.ธ. ๖, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)ศษ.บ., M.Phil., Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                         วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์ที่ศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาจารวากที่มีอิทธิพลต่อคนในสังคมทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่อดีตจนถึงในปัจจุบันกาล ปรัชญาจารวากเป็นปรัชญาที่สอนให้คนทำลายคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จารีตประเพณีที่ดีงามในสังคม  แต่ส่วนลึกของแนวคิดปรัชญานี้ยังมีปรากฏอยู่ในสังคมปัจจุบัน

                         การศึกษาวิเคราะห์ ผู้วิจัยได้แบ่งเนื้อหาของงานวิจัยออกเป็น ๕ บท ซึ่งในแต่ละบทได้อธิบายถึงสารัตถะที่ต้องการศึกษา ดังต่อไปนี้

                         บทที่ ๑  กล่าวถึงความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาที่จะต้องนำมาศึกษา

                         บทที่ ๒  กล่าวถึงแนวคิดทางปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อปรัชญาจารวาก ประกอบด้วยกลุ่มอาสติกะ กลุ่มนาสติกะ แนวคิดปรัชญาของลัทธิครูทั้ง ๖ สำนัก แนวคิดพุทธปรัชญาเถรวาท และแนวคิดของปรัชญาเชน

                         บทที่ ๓  กล่าวถึงแนวคิดทางอภิปรัชญา  แนวคิดทางญาณวิทยา  และแนวคิดทางจริยศาสตร์ในปรัชญาจารวาก

                         บทที่ ๔ กล่าวถึงการวิเคราะห์แนวคิดปรัชญาจารวาก ประกอบด้วยวิเคราะห์แนวคิดอภิปรัชญา ญาณวิทยา จริยศาสตร์  วิเคราะห์อิทธิพลแนวคิดปรัชญาจารวากในสังคมที่มีต่อระบบทุนนิยม บริโภคนิยม สุขนิยมและผลกระทบ

                         บทที่ ๕ กล่าวถึงบทสรุปที่ได้ศึกษาวิเคราะห์มาทั้งหมดพร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการนำปัญหาที่ยังไม่ได้ศึกษาไปค้นคว้าต่อไป

                         ผลจากการศึกษาวิเคราะห์มาทั้งหมด ผู้วิจัยได้พบข้อสรุปอันเกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาจารวากได้ดังต่อไปนี้

                         ๑. ปรัชญาจารวากเป็นปรัชญาที่ยึดมั่นในวัตถุนิยม ปฏิเสธความเชื่อคัมภีร์พระเวทและลัทธิพิธีกรรมของพราหมณ์ มุ่งสอนให้คนแสวงหาแต่วัตถุ ให้แสวงหาแต่ความสุขสบายทางวัตถุ เพราะมีความเชื่อว่าคนเกิดมาชาติเดียว ตายแล้วสูญ ไม่มีการกลับมาเกิดอีก ไม่มีโลกหน้า ไม่มีนรก ไม่มีสวรรค์ ไม่มีความดี มีแต่ปัจจุบันเท่านั้น

                         ๒. ปรัชญาจารวากมีแนวคิดว่าความจริงจะต้องพิสูจน์ได้ทางประสาทสัมผัสเท่านั้น  ปฏิเสธความจริงที่ไม่ผ่านทางประสาทสัมผัส ปฏิเสธความเชื่อในคำสอนทุกระบบ ในวิถีแห่งการดำเนินชีวิต  ปรัชญาจารวากสอนให้แสวงหาความสุขสำราญ โดยเฉพาะความสุขทางกายให้เต็มที่ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่  เพราะชีวิตมีจุดหมายคือมีความสุขในทางวัตถุในปัจจุบันนี้เท่านั้น  แนวความคิดนี้เป็นคำสอนที่ทำลายศีลธรรมอันเป็นแบบปฏิบัติที่ดีงามในสังคม ทั้งยังจะสร้างปัญหาใหม่ให้เกิดขึ้นแก่สังคม

                         ๓. อิทธิพลแนวคิดในลัทธินี้ที่เชื่อว่ามีชาตินี้ชาติเดียว ตายแล้วสูญ  ได้มีปรากฏอยู่ในสัญชาตญาณของคนในสังคมปัจจุบัน ถึงจะไม่มีความเชื่อในคำสอนของลัทธินี้ทั้งหมด แต่ความคิดนี้เกิดขึ้นมาโดยที่ไม่มีใครรู้แต่เกิดอยู่ในตัวตน จึงทำให้หาแต่ความสุขทางวัตถุเพื่อให้ตนได้มีความสุขเหนือกว่าผู้อื่น ดังนั้น ทุนนิยม บริโภคนิยม เกิดความโลภในความสุข ความสบาย จึงตกเป็นทาสของวัตถุโดยไม่รู้ตัว ซึ่งความสุขประเภทนี้เป็นความสุขชั้นโลกิยะ จึงไม่ต่างไปจากความสุขของสัตว์ทั้งหลายทั่วๆ ไปที่พึงมีได้

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕