หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวิทูล สนฺตจิตฺโต (โพธิเศษ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
การวิเคราะห์หลักพุทธจริยศาสตร์สำหรับแก้ปัญหาการครองเรือนในสังคมไทย
ชื่อผู้วิจัย : พระวิทูล สนฺตจิตฺโต (โพธิเศษ) ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโพธิคุณ, ดร. พธ.บ. (ศาสนา), M.A. (Phil.), M.Phil, Ph.D. (Phil.)
  ผศ.ดร. โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ป.ธ.๗, พธ.บ. (ปรัชญา), M.A. (Bud.), พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
  ผศ.ดร. สุวิน ทองปั้น พธ.บ. (ปรัชญา), M.A. (Phil.), Ph.D. (Phil.)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและปัญหาเกี่ยวกับการครองเรือน  ๒) ศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์สำหรับการครองเรือน  ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธจริยศาสตร์สำหรับแก้ปัญหาการครองเรือนในสังคมไทย  เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary research) โดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า  หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการครองเรือนในทรรศนะทางปรัชญามีอยู่มากมาย เช่น แนวคิดแบบประโยชน์นิยม  แนวคิดแบบสุขนิยม  แนวคิดแบบจิตนิยม  และแนวคิดแบบศิลปนิยม เป็นต้น  ซึ่งหลักการครองเรือนเหล่านี้และมนุษย์เราสามารถเลือกได้ตามความสมเหตุสมผล  เพื่อเป็นการลดปัญหาต่างๆ อันจะเกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตเพราะสังคมไทยในปัจจุบันกำลังประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย  เช่น ปัญหาการหย่าร้าง ปัญหาการเลี้ยงดู ปัญหาการทอดทิ้งมารดาบิดา และปัญหายาเสพติด เป็นต้น 

หลักพุทธจริยศาสตร์เป็นหลักการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเพื่อเข้าถึงจุดหมายสูงสุด  พุทธปรัชญาได้วางหลักจริยศาสตร์ไว้ ๓ ระดับ คือ จริยศาสตร์ระดับต้นคือศีล ๕  จริยศาสตร์ระดับกลางคือกุศลกรรมบถ ๑๐  และจริยศาสตร์ระดับสูงคืออริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น  ในการครองเรือนนั้นพุทธจริยศาสตร์ได้วางหลักการประพฤติปฏิบัติ  ไว้เป็นกรอบแนวความคิดสำหรับการดำเนินชีวิตของผู้ครองเรือน  อันได้แก่หลักสังคหวัตถุ ๔ สำหรับการครองตนเป็นคนดีอันเกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและยังส่งผลไปสู่บุคคลรอบข้างด้วยหลักฆราวาสธรรม ๔ สำหรับสร้างความรักความสามัคคีของคนในสังคม  เป็นหลักการครองชีวิตอันจะประสบกับความสุขความร่มเย็น  หลักปฏิบัติต่อกันของผู้ครองเรือนในรูปแบบสามีภรรยาคือหลักทิศ ๖  โดยมีจุดมุ่งหมาย ๓ ขั้น ได้แก่  ขั้นตาเห็นหรือประโยชน์ในปัจจุบัน  ขั้นเลยตาเห็นหรือประโยชน์เบื้องหน้า  และจุดหมายขั้นสูงสุดหรือประโยชน์อย่างยิ่ง 

หลักพุทธจริยศาสตร์สำหรับแก้ปัญหาการครองเรือน คือ ใช้หลักฆราวาสธรรมอันได้แก่ ความจริงใจ  การปรับตัว ความอดทน และเสียสละแบ่งปัน  ในการแก้ปัญหาการหย่าร้าง  หลักพรหมวิหารธรรมอันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา  ในการแก้ปัญหาการเลี้ยงดูบุตร  หลักการเลือกคบมิตร ในการแก้ปัญหายาเสพติด  หลักความกตัญญูกตเวทีและหลักสังคหวัตถุอันได้แก่ การสงเคราะห์ วาจาไพเราะอ่อนหวาน การขวานขวายช่วยเหลือ และการประพฤติตนเป็นผู้เสมอต้นเสมอปลาย  ในการแก้ปัญหาการทอดทิ้งผู้สูงอายุ  อันเป็นหลักปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน  เพื่อความดีงามและความผาสุกในการครองเรือน  และเป็นการสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบเรียบร้อย

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕