หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสุวรรณชาติ สนฺตจิตฺโต (กมลรัมย์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๙ ครั้ง
ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในชีวิตประจำวัน : กรณีศึกษาพุทธศาสนิกชนผู้ที่เข้าร่วมการปฏิบัติธรรม วัดภัททันตะอาสภาราม จังหวัดชลบุรี
ชื่อผู้วิจัย : พระสุวรรณชาติ สนฺตจิตฺโต (กมลรัมย์) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ.ดร. น.ธ.เอก, พธ.บ. (ครุศาสตร์), พธ.บ. (มนุษยศาสตร์), M.A., Ph.D. (Psy)
  ผศ.ดร. ประยูร สุยะใจ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, พธ.บ., B.J., Dip.In SR., กศ.ม., M.A.(Po), M.A.(Eco), M.A.(Psy), Ph.D.(Psy)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

              การศึกษาเรื่อง ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในชีวิตประจำวัน : กรณีศึกษาพุทธศาสนิกชนผู้ที่เข้าร่วมการปฏิบัติธรรมวัดภัททันตะอาสภาราม จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ๒) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานหลักสติปัฏฐาน ๔ ในชีวิตประจำวัน ๓) เพื่อศึกษาความแตกต่างการประยุกต์การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน หลักสติปัฏฐาน ๔ ในชีวิตประจำวัน จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลประกอบด้วยเพศ,อายุ,สมรส,ระดับการศึกษา, อาชีพปัจจุบัน,ประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรม กลุ่มตัวอย่างจากผู้ที่เข้าร่วมการปฏิบัติธรรม วัดภัททันตะอาสภาราม จังหวัดชลบุรี สถิติที่ใช้ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) ขอบเขตจำนวนประชากรจำนวน๓๓๒ คน  และขอบเขตด้านเวลา : ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลศึกษาแบบเชิงสำรวจ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

๑.    ผลการวิเคราะห์หลักการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐาน ๔

ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก พบว่า การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ที่มีสติเป็นประธาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง โดยการพิจารณาหรือการกำหนดรู้กาย เวทนา จิตและธรรม โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ ความดับทุกข์  รู้จักการรักษาคุ้มครองจิตด้วยวิธีการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดละความวุ่นวายและทำให้เกิดความเข้มแข็งนำมาใช้ในการปฏิบัติงานทุกอาชีพ  เพราะจิตที่พัฒนาดีแล้วย่อมมีความสงบสุข และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและตนเอง และเป็นการยกระดับให้จิตสูงขึ้น

              ๒. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ๓๘.๖ % ส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ร้อยละ ๕๔.๕%  ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๘% มีระดับการศึกษามัธยม คิดเป็นร้อยละ ๕๘.๑% มีอาชีพนักศึกษา คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๒% ประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมมากกว่า ๒ ครั้งขึ้นไปต่อปี คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๖%

             

              ๓. ผลการวิเคราะห์ระดับการประยุกต์ใช้หลักวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในชีวิตประจำวัน พบว่า ระดับการประยุกต์ใช้หลักวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในชีวิตประจำวัน โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ .๕๗ คือ ด้านกายานุปัสสนา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๔ ด้านเวทนานุปัสสนามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๙ ด้านจิตตานุปัสสนามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๔๘ ด้านธัมมานุปัสสนามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๖ อยู่ในระดับมาก

 

              ๔. ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างระดับการประยุกต์ใช้หลักวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ในชีวิตประจำวัน พบว่า โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพปัจจุบัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพสมรส แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ และประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมที่ต่างกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ 

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕