หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูพิศาลบุญญาภินันท์ อจฺจาทโร (รุกขชาติ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๓ ครั้ง
ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของพระสังฆาธิการตามความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชน ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้วิจัย : พระครูพิศาลบุญญาภินันท์ อจฺจาทโร (รุกขชาติ) ข้อมูลวันที่ : ๐๖/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม,พธ.บ., M.A., Ph.D.(Pol.Sc)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, ผศ., พธ.บ., ศศ.ม, รป.ม.(การจัดการความขัดแย้ง)
  ผศ.ดร.เติมศักดิ์ ทองอินทร์, พธ.บ., M.A., Ph.D.(Pol.Sc)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

              งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของ           พระสังฆาธิการตามความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชน ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา     ๒)  เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของพระสังฆาธิการตามความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชน         ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของพระสังฆาธิการตามความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชน ในอำเภอวังน้อย         จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mix Method Research)  โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Study) จากพุทธศาสนิกชนผู้ที่อาศัยอยู่ ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่(Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๔๐๐ คน โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิด และปลายเปิด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-Test) และค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ในกรณีที่พบความแตกต่างตั้งแต่ ๓ กลุ่มขึ้นไป โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยสุดที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

              ๑. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ คือ เป็นเพศหญิง จำนวน ๒๘๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๐.๐๐ ผู้ที่มีอายุ ๒๑-๓๐ ปี จำนวน ๒๓๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๕๐ ผู้ที่มีสถานภาพสมรส จำนวน ๒๕๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๓.๕๐ ผู้ที่มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน ๓๖๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๓๐ ผู้ที่มีอาชีพเกษตรกรรม จำนวน ๒๕๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๓.๕๐

              ๒. ความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของพระสังฆาธิการตามความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชน  ในอำเภอวังน้อย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย ๓.๙๑  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า พุทธศาสนิกชนที่มีต่อภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของพระสังฆาธิการตามความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนอยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับ คือ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านการบริหาร ด้านมนุษย์สัมพันธ์             

                  ๓.  การเปรียบเทียบคุณภาพความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของพระสังฆาธิการตามความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชน ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับพุทธศาสนิกชน จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาไม่แตกต่างกัน ส่วนอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน

              ๔.  ปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับบภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของพระสังฆาธิการตามความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชน ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดังนี้ ๑. ขาดความรู้ความเข้าใจด้านวิสัยทัศน์ ๒.ปัญหาความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น        ๓.  ขาดผู้นำที่มีวิสัยทัศน์มาปฏิบัติหน้าที่ ๔. ปัญหาเรื่องเวลาและเงินมาสนับสนุนในการปฏิบัติหน้าที่ไม่มีความแน่ชัด ๕. ปัจจุบันการบริหารให้มีคุณภาพเป็นไปได้ยาก ๖.  ขาดงบประมาณในการก่อสร้างและการพัฒนาต้องช่วยเหลือตนเองในการบริหาร

              สำหรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของพระสังฆาธิการตามความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชน ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดังนี้ ๑. ควรหาคนที่มีความเข้าใจด้านวิสัยทัศน์ เพื่อปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ ๒. ควรมีความช่วยเหลือหน่วยงานและส่งเสริมด้านวิสัยทัศน์ให้ไปสู่จุดมุ่งหมาย ๓. ควรจัดอบรมแก่ผู้นำให้มีคุณภาพและเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน      ๔. ควรจัดเวลาให้เหมาะสมกับการทำงานที่รับผิดชอบและหาทุนไว้มาสนับสนุน ๕. ควรถวายความรู้และส่งเสริมให้เข้าใจทางด้านการบริหาร ๖. ควรจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการพัฒนาด้านต่างๆเพิ่มขึ้น ๗. ควรมีการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ตามลำดับ ๘. ควรจัดเวลาให้เหมาะสมกับการทำงานที่รับผิดชอบ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕