หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระศรีสุธรรมเมธี (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม ป.ธ.๙)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๑ ครั้ง
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีต่อแนวความคิดทางการเมืองการปกครองของพระเจ้าลิไท ศึกษาเฉพาะกรณี : ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา) (๒๕๓๖)
ชื่อผู้วิจัย : พระศรีสุธรรมเมธี (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม ป.ธ.๙) ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๐๖/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหามนตรี ขนฺติสาโร
  พระมหามนตรี ขนฺติสาโร
  พระมหามนตรี ขนฺติสาโร
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๖
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาเชิงวิเคราะห์อิทธิพลของพระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีต่อแนวความคิดทางการเมืองการปกครองของพระเจ้าลิไท โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบกับแนวความคิดเดิมก่อนรัชสมัยของพระองค์
          ผลการวิจัยได้ข้อสรุปที่สำคัญ คือ แนวความคิดทางการเมืองการปกครองของพระเจ้าลิไทที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา ทำให้เกิดวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงจากความเชื่อในอำนาจของ กษัตริย์ หรือผู้ปกครองในฐานะของนักรบ เป็นความเชื่อในอำนาจของกษัตริย์หรือผู้ปกครองในฐานะพระราชาสิทธิอำนาจและความชอบธรรมในการกำหนดชนชั้นในสังคม เป็นไปตามการกระทำและผลของการกระทำ “กฎแห่งกรรม” ตามแนวพระพุทธศาสนา มิใช่เป็นไปตามชาติภูมิ เสรีภาพของบุคคลได้รับการส่งเสริมอย่างมาก โดยที่บุคคลในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีเสรีภาพในการแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองและมีเสรีภาพในการแบ่งปันประโยชน์ของตนให้แก่ผู้อื่นที่รวมอยู่ในสังคมเดียวกัน
          ขอบเขตของเสรีภาพของกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ในสังคมถูกควบคุมโดยกฎแห่งธรรม หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เสรีภาพนั้นมีความสอดคล้องกับจริยธรรมพื้นฐานของสังคมได้แก่ ศีลธรรม คุณธรรม และมโนธรรม ซึ่งถูกกำหนดเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ทางด้านการเมืองและการปกครองในรัชสมัยของพระเจ้าลิไท สังคมสุโขทัยดำรงอยู่ได้ด้วยความสงบ ราบรื่น มีความก้าวหน้า โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยกฎหมาย ที่กำหนดบทลงโทษรุนแรงเอาไว้เพื่อปกป้องรักษาสังคมด้วยอุดมคติตามหลักพระพุทธศาสนา ที่พระเจ้าลิไทได้ทรงรับจากพระพุทธศาสนาเถรวาท พระองค์ทรงได้วางเป้าหมายไว้ ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับโลกียะ คือการเข้าสู่ยุคพระศรีอาริย์ ซึ่งหมายถึง อุตตรกุรุทวีปรัฐในอุดมคติ และระดับโลกุตตระ คือมุ่งหมายให้ถึงนิพพาน ความหวังของบุคคลทั้งหลายจะประสบความสำเร็จได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา
         ผลสืบเนื่องที่ได้ทราบจากการวิจัยนี้ คือ อิทธิพลของพระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีต่อการเมืองการปกครองในสมัยพระเจ้าลิไท ได้ถูกยอมรับเป็นพื้นฐานมาจนถึงปัจจุบันนี้   โดยเป็นพื้นฐานทางจริยธรรมของสังคมและวัฒนธรรมทางด้านการปกครองของประเทศ จริงอยู่ เป็นที่น่าเสียดายที่จริยธรรมและวัฒนธรรมของสังคมบางประการได้ถูกละเลย ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าศีลธรรม คุณธรรม และมโนธรรมของบุคคลต่างสมัยระหว่างสุโขทัยกับรัตนโกสินทร์มีความเปลี่ยนแปลงหรือไม่

Download : 253606.pdf
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕