หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวศศิวรรณ กำลังสินเสริม
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๓ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์ลลิตวิสตระ (๒๕๔๖)
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวศศิวรรณ กำลังสินเสริม ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
  รศ.ดร. สำเนียง เลื่อมใส
  นาย รังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ กันยายน ๒๕๔๖
 
บทคัดย่อ

     วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา พัฒนาการ และโครงสร้างเนื้อหาของคัมภีร์ลลิตวิสตระ เกี่ยวกับประวัติพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ บุคคล สภาพสังคม ศาสนา และสถานภาพสตรี รวมถึงหลักธรรมวินัยที่ปรากฏในคัมภีร์และอิทธิพลของคัมภีร์ที่มีต่อคัมภีร์ร่วมสมัย โดยแบ่งการศึกษาวิเคราะห์ออกเป็น ๕ บท ดังนี้
     บทที่ ๑ บทนำ
     บทที่ ๒ ความเป็นมาและเค้าโครงเรื่องในคัมภีร์ลลิตวิสตระ เป็นการแนะนำคัมภีร์ลลิตวิสตระ โครงสร้างของเนื้อหาสาระพร้อมใจความสำคัญ แหล่งข้อมูล รสแห่งวรรณคดี และอิทธิพลต่อวรรณกรรมร่วมสมัย
     บทที่ ๓ แนวคิดสำคัญ บุคคล เหตุการณ์ ที่ปรากฏในคัมภีร์ลลิตวิสตระ โดยแบ่งเป็น ๓ ส่วนคือ ส่วนแรกกล่าวถึงแนวคิดเรื่องพระโพธิสัตว์ ส่วนที่ ๒ กล่าวถึงแนวคิดเรื่องพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนที่ ๓ กล่าวถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง สภาพสังคมโดยเฉพาะสถานภาพสตรีในยุคนั้น และการศาสนาในชมพูทวีป ทั้งสภาพอินเดียยุคก่อนพุทธกาล ศาสนายุคก่อนพุทธกาลและยุคพุทธกาล
     บทที่ ๔ หลักธรรมสำคัญที่ปรากฏในคัมภีร์ลลิตวิสตระ อิทธิพลของคัมภีร์ลลิตวิสตระโดยเฉพาะแนวคิดเรื่องพระโพธิสัตว์ อิทธิพลด้านการปกครองและอิทธิพลด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรม
     บทที่ ๕ สรุป วิจารณ์ และข้อเสนอแนะ
     ผลการศึกษาพบว่า คัมภีร์ลลิตวิสตระประพันธ์ขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๕-๖ โดยมีคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นแหล่งข้อมูล เชื่อว่าผู้ประพันธ์เคยเป็นนักปราชญ์ของนิการเถรวาทก่อนที่จะแตกนิกายออกเป็นนิกายสรวาสติวาท แต่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทิศทางคำสอนให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่ศาสนาแผ่เข้าไปถึง ข้อค้นพบที่น่าสนใจมี ๔ เรื่องคือ
     (๑) สถานะและบทบาทของพระโพธิสัตว์มีลักษณะแตกต่างออกไปอย่างชัดเจน พระโพธิสัตว์มีสถานะเป็นมนุษย์สมบูรณ์เหนือมนุษย์ เป็นเทพและเป็นผู้ปลดเปลื้องทุกข์ของสัตว์โลกไปในขณะเดียวกัน
     (๒) พระพุทธเจ้ามีภาวะเป็นทิพย์ มีภูมิปัญญาตรัสรู้ มีพระชนมายุและสภาวะทุกอย่างเป็นอนันตะ
     (๓) หลักธรรม บุคคล เหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมอื่นๆ มีลักษณะผสมกลืนกับสภาพความเป็นพริงในสังคมยุคนั้น มีเชื้อแนวคิดของทุกลัทธิศาสนาผสมอยู่ด้วย คัมภีร์ลลิตวิสตระจึงเป็นเหมือนจุดหลอมรวมหรือสะพานเชื่อมต่อของหลายลัทธิ
     (๔) อิทธิพลของคัมภีร์ลลิตวิสตระที่มีต่อสังคม วัฒนธรรมในยุคต่อมา โดยเฉพาะด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรม เช่น พระมหาเจดีโบโรบูดูร์ รูปปั้นพระโพธิสัตว์และเจดีย์ในภาคใต้ของประเทศไทย
 

Download : 254624.pdf
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕