หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูวิทิตธรรมวงศ์ (ติสฺสวํโส/ไชยบอน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๙ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตด้วยหลักปัจจัย ๔ ของครูโรงเรียน โคกล่ามพิทยาคม อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อผู้วิจัย : พระครูวิทิตธรรมวงศ์ (ติสฺสวํโส/ไชยบอน) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๙/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหามิตร ฐิตปญฺโญป.ธ.๔, พธ.บ.(รัฐศาสตร์) (Pol.), พธ.ม. พระพุทธศาสนา) (Bud.), Ph.D. (Bud.)
  ผศ.ดร.สุวิน ทองปั้น พธ.บ. ,M.A., Ph.D. (Phil.)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ๑) เพื่อศึกษาหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตด้วยหลักปัจจัย    ตามแนวทางพระพุทธศาสนา  ๒) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินชีวิตด้วยหลักปัจจัย  ๔ ของครูโรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด    ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตด้วยหลักปัจจัย    ของครูโรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม  โดยใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ประชากรได้แก่ครู จำนวน ๙๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๗ สถิติที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณาวิเคราะห์

                         ผลการวิจัยพบว่า       

                         หลักความพอเพียงในทางพระพุทธศาสนา  จะต้องบริโภคด้วยหลักการที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ คือพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วน แยบคายรอบคอบ  คำนึงถึงหลักความพอประมาณ ความคุ้มค่าและหลักความมีเหตุผล  พิจารณาด้วยปัญญาก่อนแล้วจึงใช้สอย  พอใจด้วยปัจจัย   ตามมีตามได้ และเป็นอยู่อย่างมีความสุขด้วยเครื่องเลี้ยงชีพตามที่หามาได้ด้วยความเพียรพยายามอันชอบธรรมของตน เมื่อได้สิ่งใดมาด้วยความเพียรของตนก็พอใจในสิ่งนั้นไม่เดือดร้อนคือ เครื่องนุ่งห่ม  อาหาร  ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค   มีขอบเขตอันเหมาะสม มีความพอเหมาะพอดีแก่ชีวิต

 

                         สภาพและปัญหาการดำเนินชีวิตด้วยหลักปัจจัย    ของครูโรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัด  ด้วยอาชีพหน้าที่ การงานที่รีบเร่งทำให้เวลาเป็นปัญหา  และสภาพทางสังคม  ค่านิยมต่างๆ ก่อให้ครู โรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม  เกิดความฟุ่มเฟือย  ในการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดปัญหาการเป็นหนี้สินของครูโรงเรียน โคกล่ามพิทยาคม    การดำรงชีวิตของครูอันเป็นไปตามกระแสของสภาพของความเป็นอยู่ในสังคมปัจจุบัน คือต้องดิ้นรนแสวงหาความสุข  ความสะดวกสบาย ด้วยความฟุ้งเฟ้อ  ด้วยรสนิยมอันอันทันสมัย  ทำให้เกิดความไม่พอเพียงของตัวบุคคลที่มีความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย  ไม่ว่าด้านอาหาร  ก็ฟุ่มเฟือยไม่ดูสภาพของตน  ด้านเครื่องนุ่งห่ม  ก็ใช้แต่ของที่แพงแต่เกิดประโยชน์น้อย ด้านที่อยู่อาศัย  ก็สร้างกันอย่างหรูหรา ไม่มีก็หาหยิบยืมกู้หนี้ยืมสินมาสร้าง  และด้านยารักษาโรค  โดยเฉพาะสังคมไทยปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นสังคมไหนก็ตาม  มักปล่อยชีวิตใช้ชีวิตที่ไม่ระวังภัยที่จะเกิดโรคตามมา 

                         การประยุกต์ใช้หลักความพอเพียงในการดำเนินชีวิตของครูโรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ดโดยภาพรวมและรายด้าน มีระดับการนำไปใช้อยู่ในระดับปานกลาง   เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน แสดงว่า อยู่ในระดับมาก  อยู่      ด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ คือปัจจัย   ยารักษาโรค  ด้านความมีเหตุผล  ปัจจัย  ๔ ด้านอาหาร -  ด้านความพอประมาณ  และ ปัจจัย ๔ ยารักษาโรค - ด้านความพอประมาณ และปานกลางอยู่  ๖ ด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ คือ ปัจจัย ๔ ที่อยู่อาศัย-ด้านความมีเหตุผล  ปัจจัย ๔ ด้านอาหาร - ด้านการมีภูมิคุ้มกัน และ ปัจจัย ๔ ยารักษาโรค- ด้านความพอประมาณ

                        แนวทางการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตด้วยหลักปัจจัย    ของครูโรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด   ๑) ควรมีการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของครูโรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม  อำเภอจตุรพักตรพิมาน  จังหวัดร้อยเอ็ด  ๒) ควรมีการศึกษาการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้การศึกษารายกรณีหรือการสังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติตนของครูโรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม  อำเภอจตุรพักตรพิมาน  จังหวัดร้อยเอ็ด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕