หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พันตำรวจตรี สุรศักดิ์ ขำเนตร
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๗ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักธรรมาธิปไตยในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พันตำรวจตรี สุรศักดิ์ ขำเนตร ข้อมูลวันที่ : ๓๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีสุตาภรณ์ป.ธ.๙ , M.A.(พระพุทธศาสนา), Ph.D. (พระพุทธศาสนา)
  ผศ.ดร.สุรพงษ์ คงสัตย์พธ.บ.(ภาษาอังกฤษ), M.A.(ภาษาศาสตร์), ปร.ด.(วัฒนธรรมศาสตร์)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่นตามหลักธรรมาธิปไตยในพระพุทธศาสนาเถรวาท   มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย             ประการคือ  (๑) เพื่อหลักธรรมาธิปไตยในพระพุทธศาสนาเถรวาท  (๒) เพื่อเพื่อศึกษาหลักการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และ (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักธรรมาธิปไตยในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ผลการวิจัยพบว่า

          ธรรมาธิปไตย  คือ มีธรรมเป็นใหญ่   หรือจะหมายความว่าการถือธรรมเป็นใหญ่ เป็นหลักในการบริหารจัดการ   ซึ่งมาจากศัพท์ว่า  ธรรม + อธิปไตย  ความหมายในที่นี้ คือแนวคิดใช้ธรรมะเป็นสำคัญไม่ว่าจะเป็นระบอบ หรือตัวผู้บริหาร ก็จำเป็นต้องมีธรรมนำการบริหารจัดการทั้งสิ้น  ธรรมาธิปไตยเป็นแนวความคิดที่ถือธรรมเป็นหลักชัยแห่งการบริหาร  จัดการบ้านเมืองหรือองค์กรให้มีความเจริญก้าวหน้ามั่นคง สร้างความสามัคคีปรองดองคนในชาติและเป็นที่ยอมรับของคนทุกฝ่าย  ผู้เข้ามาสู่อำนาจจะต้องเป็นผู้ที่มีธรรม  โดยธรรม และเพื่อธรรม การปกครองระบบนี้จึงไม่ใช่ทฤษฎีที่ว่าด้วยระบบการปกครอง  อย่างเช่นระบบการปกครองทั่ว ๆ ไปในปัจจุบันอย่างที่ชาวตะวันตกเข้าใจกัน ซึ่งอาศัยความถูกต้อง  ความดี  หรือเหตุผล

หลักการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการปกครองที่รัฐบาลกลางให้อำนาจ หรือกระจายอำนาจไปให้หน่วยการปกครองท้องถิ่น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีอำนาจการปกครองร่วมกันทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนในการบริหารท้องถิ่นตามหลักการที่ว่าถ้าอำนาจการปกครองมาจากประชาชนในท้องถิ่นแล้ว รัฐบาลของท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องมีองค์กรของตนเอง อันเกิดจากการกระจายอำนาจของรัฐบาลกลาง โดยให้องค์กรอันมิได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล มีอำนาจในการตัดสินใจและบริหารงานภายในเขตอำนาจของตนและมีโครงสร้างการบริหารองค์กร คือ ๑) หลักการวางแผน   ๒) หลักการจัดองค์การ  ๓)หลักการบังคับบัญชา  ๔) หลักการประสานงาน  และ๕) หลักการควบคุมในการปฏิบัติงานนั้น  ซึ่งการบริหารเป็นการร่วมกันทำงานอย่างเป็นกระบวนการกลุ่มบุคคล โดยใช้ทรัพยากรการบริหารเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน และสิ่งสำคัญจะต้องทราบถึงประโยชน์  ข้อจำกัดและอุปสรรคของการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ

          การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักธรรมาธิปไตยในพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น พบว่า  ในปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ตามนโยบายที่กำหนดไว้ในโครงสร้างการบริหารแต่ก็เกิดปัญหาในภาพรวมไม่ว่าการวางแผน  การจัดองค์การ  การบังคับบัญชา  การติดต่อประสานงาน  และการควบคุมเกิดความไม่สมดุล  จึงทำการบริหารงานตอบสนองความต้องการของประชาชนไม่ทั่วถึงและเกิดการร้องเรียนในหลาย ๆ แห่งซึ่งเกิดจากการบริหารงานไม่ชัดเจนตามภาระงาน  ฉะนั้น ถ้านำหลักธรรมาธิปไตยมาบูรณาการและประยุกต์ใช้จะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่สำหรับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งมีความซื่อสัตย์  ประชาชนก็เกิดศรัทธาและความเชื่อมั่นในการทำงาน นั่นหมายความว่า ประชาชนเข้ามามีส่วนรวมในเชิงนโยบายก่อนแล้ว  เพราะหลักธรรมาธิปไตย คือ การบริหารที่ยึดส่วนรวมเป็นหลักพร้อมกับการมีเหตุผล ทุกฝ่ายสามารถแสดงออกได้นอกจากนั้นแล้ว ผู้บังคับบัญชาก็ต้องฟังผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย  เมื่อภายในองค์กรเกิดการบริหารงานด้วยคุณธรรม จริยธรรมทุกอย่างที่เป็นภาระงานทั้ง ๕ ด้านก็จะถูกนำมาปฏิบัติเชื่อมโยงกันก็จะทำให้ประชาชนที่เป็นผู้มารับบริการเกิดความพอใจและประทับใจสุดท้ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ประสบผลสัมฤทธิ์ด้านการบริหารองค์กรตามแผนงานและนโยบายที่กำหนดไว้ทุกประการ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕