หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูนิติธรรมนาท ( บรรลือ วิสภักดิ์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๘ ครั้ง
เปรียบเทียบทานในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายาน
ชื่อผู้วิจัย : พระครูนิติธรรมนาท ( บรรลือ วิสภักดิ์) ข้อมูลวันที่ : ๓๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี, ผศ.ดร.ป.ธ.๙, กศ.ม., รป.ด., พธ.ด. (พุทธศาสนา)
  ผศ.ดร. วรกฤต เถื่อนช้าง ป.ธ.๙ ,ศษบ., ศศ.ม.,ปร.ด. (การบริหารอุดมศึกษา)
  ผศ. อานนท์ เมธีวรฉัตร ป.ธ.๖, พธ.บ., ศษ.บ., กศ.ม. (การบริหารการศึกษา)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง เปรียบเทียบทานในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายาน มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาทานในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาทานในมหายาน ๓) เพื่อเปรียบเทียบทานในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายาน

ผลการศึกษาพบว่า

๑)      ทาน ในพระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง การให้ การบริจาค การเสียสละ วิธีการ

ให้ทานตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาทที่จะมีผลมาก ทานนั้นจะต้องประกอบด้วยองค์ ๖ คือ ฝ่ายผู้ให้ ๓ องค์ ฝ่ายผู้รับ ๓ องค์ และทานแบ่งตามสิ่งที่ให้มี ๒ อย่างคือ อามิสทาน และธรรมทาน สามารถแบ่งลักษณะการให้ออกเป็น ๒ วิธี คือ ปาฎิปุคคลิกทาน และสังฆทาน  องค์ประกอบของการให้ทานมี ๓ ประการ ได้แก่ ๑.ทายก คือ ผู้ให้ทาน ๒.ปฏิคาหก คือ ผู้รับทาน ๓.ไทยธรรม คือ วัตถุที่ให้ทานด้วยศรัทธา ส่วนอานิสงส์และจุดมุ่งหมายของทานมีประโยชน์ ๒ ประการคือ ๑.การให้ทาน เป็นเครื่องเกื้อหนุนให้ไปเกิดสุคติโลกสวรรค์ กล่าวคือ เมื่อตายไปจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๒.การให้ทาน เป็นเครื่องเกื้อหนุนให้เป็นผู้มีโภคะ จุดมุ่งหมายของการให้ทานในพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ เพื่อสร้างบุญบารมี โดยอาศัยพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญ พระพุทธศาสนาเถรวาทเน้นอรหันตภูมิ โดยสาระของหลักแนวคิด วิธีการ ความเชื่อและข้อปฏิบัติเพื่อเข้าสู่เป้าหมาย คือ พระนิพพาน

๒)      ทาน ในพระพุทธศาสนามหายาน หมายถึง ทานบารมี เพราะพระโพธิสัตว์จะต้อง

สละทรัพย์ อวัยวะ และชีวิตเพื่อรักษาชีวิต แต่เมื่อระลึกถึงธรรม คือ ความถูกต้อง เหมาะสม หรือความดี และพึงสละทั้งทรัพย์ อวัยวะ และชีวิตเพื่อรักษาธรรม ลักษณะของทาน ถือว่า เป็นการบำเพ็ญบารมี ที่จะต้องทำด้วยการบริจาค ทานบารมีแบ่งออกเป็น ๓ อย่าง คือ “ธรรมทาน อามิษทาน ไมตรีทาน” องค์ประกอบของทาน คือ วัตถุที่ตั้งของทานแบ่งเป็น ๒ หลัก คือ ๑. พาหิรทาน ของที่ให้เป็นของนอกกาย ๒.อัชฌัตติกทาน ของที่ให้เป็นร่างกายของตนเอง ลักษณะของการบำเพ็ญทานบารมีโดยจะต้องพิจารณาว่า ของที่ให้จะต้องเป็นของที่ดีงาม และเมื่อจะให้ทานต้องให้แก่ผู้ต้องการ แม้ไม่ได้ขอก็ให้ก่อนที่ผู้ต้องการนั้นจะขอ วิธีการให้ทาน พระโพธิสัตว์จะต้องทำทานด้วยความกรุณา และปัญญาควบคู่กันไป  จุดมุ่งหมายของการให้ทานหรือการบำเพ็ญบารมี เพื่อเข้าถึงประมุทิตาภูมิ เกิดความชื่นชมเมื่อได้เห็นว่าตนเองเป็นผู้ใกล้โพธิ และเป็นผู้ทำประโยชน์เพื่อสรรพสัตว์ให้สำเร็จ พุทธศาสนามหายาน มุ่งเน้นบรรลุเพระพุทธเจ้า (พุทธภูมิ) อันเป็นโลกุตตรภูมิ โดยมุ่งสอนเพื่อช่วยเหลือกันในฐานที่เป็นมนุษย์นั่นเอง

๓)      การเปรียบเทียบทานด้านความหมายและลักษณะของพระพุทธศาสนาทั้ง ๒ นิกาย

มีความคล้ายคลึงกันทางพื้นฐาน โดยเห็นว่า ทาน คือจุดเริ่มต้นอันเป็นวิธีการ หลักการ อุปกรณ์เครื่องมือแห่งการประพฤติปฏิบัติเพื่อละความชั่ว ทั้งสองนิกายมีทัศนะ ตรงกันในประเด็นบารมีทั้งหมด เช่น ทาน มีการอนุเคราะห์ผู้อื่น วิธีการให้ทานตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท ทานนั้นจะต้องประกอบด้วยองค์ ๖ คือ ฝ่ายผู้ให้ ๓ องค์ ฝ่ายผู้รับ ๓ องค์ ทานก็จะมีผลมาก ฝ่ายมหายาน วิธีการให้ทาน เน้นที่พระโพธิสัตว์ผู้ให้ทานจะต้องให้ทานด้วยความสุภาพ ต้องต้อนรับผู้รับทานอย่างเคารพนอบน้อมเป็นผู้ยินดีในการทำทานของตน ไม่เลือกทั้งมิตรและศัตรู ทั้งผู้ควรรับและไม่ควรรับ อานิสงส์และจุดมุ่งหมายของการให้ทานของทั้งสอง ล้วนตั้งอยู่บนเป้าหมายสูงสุด และผลจากการบำเพ็ญทานเพื่อบรรลุอมตธรรมทั้งสิ้น โดยที่พระพุทธศาสนาเถรวาท เน้นอรหันตภูมิ มหายาน เน้นที่พุทธภูมิ ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน แต่สาระหลักของแนวคิด วิธีการ ความเชื่อ และข้อปฏิบัติเพื่อเข้าไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ พระนิพพาน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕