หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางกรกนก รุจินาม
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๑ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหารธรรมเพื่อการพัฒนาจิตในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : นางกรกนก รุจินาม ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทวี มหาปญฺโ, ผ.ศ. ดร.
  ป.ธ. ๙, พธ.ม. (ปรัชญา), ศน.ม. (พุทธศาสน์ศึกษา), M. Phil., Ph.D. (Buddhist Studies)
  ผศ. ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร ป.ธ. ๙, พ.ม., พธ.บ. (ปรัชญา). พธ.ม. (พระพุทธศาสนา), Ph.D. (Pali& Buddhist Studies)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา ๑.ความหมายและความสำคัญของพรหมวิหารธรรม ๒. เพื่อศึกษาตัวอย่างผู้ใช้หลักพรหมวิหารธรรมเพื่อการพัฒนาจิตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ ๓. เพื่อประยุกต์หลักพรหมวิหารธรรมเพื่อการพัฒนาจิตในสังคมไทย

                    ผลการศึกษาพบว่าพรหมวิหารธรรมคือธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ เป็นธรรมสำหรับมนุษย์ทุกคน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัปปมัญญา คือธรรมที่แผ่ไปไม่มีประมาณ หลักธรรมนี้ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา  พรหมวิหารธรรมเป็นหลักธรรมค้ำจุนโลก ในฐานะที่พรหมวิหารธรรมเป็น ๑ ในกัมมัฏฐาน ๔๐ การเจริญพรหมวิหารธรรมย่อมนำผู้ปฏิบัติไปสู่การพัฒนาจิต ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งมีความสำคัญมาก เป็นการชี้ให้เห็นว่าพรหมวิหารธรรมมีความสำคัญต่อจริยธรรมเพื่อการพัฒนาจิต เป็นคุณธรรมระดับพื้นฐาน และเป็นแนวทางต่อการพัฒนาจิต เพื่อนำไปสู่ระดับคุณธรรมขั้นสูงในการเจริญวิปัสสนา

                    ความสำคัญของพรหมวิหารธรรมต่อการพัฒนาจิตปรากฏผลในการศึกษาจากบุคคลผู้ใช้หลักพรหมวิหารธรรม ดังนี้ ๑. พระโพธิสัตว์ ๒. ภิกษุ ๓. อุบาสก ๔. อุบาสิกา
ผลการศึกษามีดังนี้

 

                  ๑. ก่อนพุทธกาล การเจริญพรหมวิหารธรรมมีจุดมุ่งหมายเพื่ออุบัติเป็นพรหมใน
พรหมโลก  

                  ๒. ผู้ประกอบด้วยเมตตาธรรม แม้ยาพิษหรือสัตว์ร้ายมิอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เป็นที่รักของเทวดา และเทวดาย่อมรักษาเป็นต้น

                  ๓.  เป็นผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย

            การประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหารธรรมเพื่อการพัฒนาจิตชี้ให้เห็นว่าพรหมวิหารธรรมเป็นหลักคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อการฝึกฝนและการพัฒนาจิต และมนุษย์จำเป็นต้องรับรู้สิ่งต่าง ๆ ทางโลกธรรม บุคคลผู้มีศักยภาพทางจิตจะแก้ไขปัญหาและอยู่ในโลกธรรมได้ ดังคำกล่าวว่า จิตที่มีการพัฒนาดีแล้วย่อมนำความสุขต่อการดำรงชีวิต การพัฒนาจิตด้วยพรหมวิหารธรรมจำเป็นต้องเริ่มต้นจากสังคมที่เล็กที่สุดและมีความสำคัญที่สุดคือครอบครัว โดยมีพ่อแม่เป็นผู้นำ จักทำให้หลักพรหมวิหารธรรมอยู่ในเรือนใจของทุกคนจากปัจเจกชนสู่สังคมอย่างยั่งยืน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕