หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระไพศาล จนฺทธมฺโม (วงศ์ภูงา)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๙ ครั้ง
ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อค่านิยมและผลกระทบของการดื่มสุราและแนวทางแก้ปัญหาตามหลักพุทธจริยธรรมของชาวพุทธในชุมชนพระลับและชุมชนชัยณรงค์-สามัคคี เทศบาลนครขอนแก่นเขต ๒
ชื่อผู้วิจัย : พระไพศาล จนฺทธมฺโม (วงศ์ภูงา) ข้อมูลวันที่ : ๓๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาประมวล ฐานทตฺโต, ดร. ป.ธ. ๖, พธ.บ. (ภาษาไทย),M.A. (Ling), M.A. (Pali & Bud), Ph.D. (Pali & Bud)
  ดร.ประยูร แสงใส, ป.ธ. ๔, พ.ม., พธ.บ., M.A., (Ed) P.G.Dip. in Journalism, Ph.D. (Education)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ  ) เพื่อศึกษาความเห็นของประชาชนด้านค่านิยมที่มีต่อการดื่มสุรา  ) ศึกษาการดื่มสุราที่มีผลกระทบต่อพุทธจริยธรรมและสังคม  )  เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการดื่มสุราของชาวพุทธในชุมชนพระลับและชุมชนชัยณรงค์ - สามัคคี เทศบาลนครขอนแก่นเขต ๒  ผลการวิจัยนี้  พบว่า

ค่านิยมในการดื่มสุราในสังคมไทย  เป็นค่านิยมที่ทุกคนในสังคมยอมรับอย่างออกหน้าออกตา และเป็นที่เปิดเผยแก่สาธารณชน ทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบต่อผู้พบเห็น การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในฐานะเป็นสื่อสำคัญในการสมาคมและสังสรรค์ การดื่มสุรานั้น แม้ทุกคนจะทราบผลของมันแต่ ไม่เกรงกลัวต่อสิ่งที่ก่อให้เกิดโทษต่อสุขภาพกายและจิตใจ ในการเสพสุราของนักเลงสุรา กลับมีในทุกสังคม ซึ่งไม่ว่าจะเป็นไปด้วยวิถีชีวิตแบบใดก็ตาม หรือด้วยงานบุญงานกุศลเช่นไรก็ตามย่อมจะมีการเลี้ยงสุรายาเมานี้ทั้งสิ้น          

ผลกระทบการดื่มสุราทำให้เกิดปัญหาลูกโซ่ที่เกี่ยวโยงกันไปหมดแทบทุกเรื่อง ทั้งความฟุ้งเฟ้อ ความยากจน ครอบครัวแตกแยกมีปัญหา ก่อให้เกิดอาชญากรรมต่างๆ อุบัติเหตุ โรคภัยรุมเร้า การสูญเสียทรัพยากรบุคคล และสูญเสียทางเศรษฐกิจของสังคมไทยโดยรวม มีผลกระทบจากการดื่มสุราต่อสังคมไทย ทำให้เกิดความเชื่อผิดคิดว่า  การดื่มสุราเป็นวัฒนธรรม เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ที่แทรกซึมอยู่ในทัศนคติ ของผู้คนในสังคม โดยมองว่าการดื่มเป็นเรื่องปกติ แม้งานบุญก็ยังไม่เว้นการดื่มด้วยเช่นกัน การดื่มสุราทำให้ผู้ดื่มขาดสติ ขาดความยับยั้งชั่งใจ และกระทำความรุนแรง อันเป็นปัญหาของสังคม

แนวทางในการแก้ปัญหาการดื่มสุราด้วยการนำหลักพุทธจริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาการดื่มสุราในสังคมไทย คือ  เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพส่วนบุคคลนั้นควรใช้    ประการ คือ  อบายมุข ๖  เบญจศีล และ การคบมิตร ส่วนหลักพุทธธรรมที่ใช้เพื่อแก้ปัญหาด้านสุขภาพจิตและชีวิตบุคคลในครอบครัวมี ๒ ประการ คือ  สติสัมปชัญญะ  และการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งหลักพุทธธรรมทั้ง ๒ ประการนี้สามารถประสานครอบครัวให้เกิดความอบอุ่น

หลักพุทธจริยธรรมที่แก้ปัญหาผลกระทบต่อสังคมโดยรวม มี ๓ กลุ่มคือ อกุศลมูล ๓  เบญจธรรม และ  บุญกิริยาวัตถุ ๓ หลักพุทธธรรมดังกล่าวนั้น ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมใจของคนที่เคยเกี่ยวข้องกับสุราแล้ว ให้ละความต้องการที่จะดื่มสุรา เป็นการส่งเสริมให้คนมีอนาคตที่ดี ด้วยการขยันหาทรัพย์ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รักษาทรัพย์ที่หามาได้เพื่อใช้จ่ายในคราวจำเป็น รู้จักคบคนดีเป็นเพื่อนเพื่อเขาจะได้แนะนำในสิ่งที่ดีๆ และเลี้ยงชีวิตของตนให้เหมาะกับความเป็นอยู่

จากการใช้แบบสอบถาม จำนวน ๕๒๕ ชุด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น หญิง ร้อยละ ๖๔ ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง ๑๘ – ๒๔ ปี ร้อยละ ๒๙  รองลงมาคือ ช่วงอายุ ๒๕ – ๓๐ ปี ร้อยละ ๒๖.๓ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. ร้อยละ ๖๑.๗ ซึ่งยังเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ร้อยละ ๓๐.๗ รองลงมามีอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ ๒๙.๑ รายได้ของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มากว่า ๑๕,๐๐๐ บาท

ด้านค่านิยมในการดื่มสุรา  พบว่า  ดื่มเพื่อเข้าสังคมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง  (  = .๒๗)  รองลงมาคือ ดื่มเพื่อให้งานประเพณีเทศกาล สนุกครึกครื้น  (  = .๒๒)  และดื่มเมื่อได้รับโบนัสหรือ ถูกหวย  (  = .๘๘)

ด้านผลกระทบ จากการดื่มสุรา กระทบมากที่สุด  (  = ๓.๙๔) รองลงมา คือกระทบต่อศีลธรรม (  = ๓.๗๖) กระทบต่อสังคม   (  = ๓.๖๑) และเศรษฐกิจ   (  = ๓.๕๕)

สำหรับแนวทางในการประยุกต์ใช้หลักพุทธจริยธรรม  คือ  ส่งเสริมความรักความอบอุ่นของครอบครัว  (  =๓.๙๒ ) เน้นการมีสติ สัมปชัญญะ ในการกระทำทุกอย่าง (  =๓.๘๑   )  และความเข้าใจในอริยสัจ ๔  (  = ๓.๔๕  )

 

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕