หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอภิสิทธิ์ วิริโย (จอดนอก)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๑ ครั้ง
ศึกษาการบำบัดความหิวในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอภิสิทธิ์ วิริโย (จอดนอก) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทวี มหาปญฺโ (ละลง), ผศ. ดร., ป.ธ. ๙, พธ.บ. (ปรัชญา),ศน.ม. (พุทธศาสน์ศึกษา), M.Phil., Ph.D. (Buddhist Studies)
  พระมหาอุดม สารเมธี (สารบรรณ), ป.ธ.๙, ศษ.บ., พธ.ม.
  ดร. เสนาะ ผดุงฉัตร, ป.ธ.๙, พ.ม., พธ.บ., M.A., พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

           วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาการบำบัดความหิวในพระพุทธศาสนาเถรวาท โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ  เพื่อศึกษาความหิวที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาการบำบัดความหิวในพระพุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาอิทธิพลและคุณค่าของหลักการบำบัดความหิว

           จากการวิจัยพบว่าความหิวคือความต้องการจะกิน มีลักษณะอาการเสียดแทงให้เจ็บปวด จัดว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งซึ่งเป็นยอดแห่งโรค เพราะรักษาให้หาดขาดไม่ได้ สามารถเกิดได้ตามปกติของร่างกาย และเกิดจากภาวะทางใจด้วยอำนาจของตัณหา ความหิวปรากฏแก่คนและสรรพสัตว์แม้ในผู้ไม่มีกิเลสแล้วก็ยังมีความหิวอยู่เช่นกัน คนธรรมดาหิวในสิ่งที่เป็นของบริโภคได้แต่คนตั้งครรภ์สามารถหิวในสิ่งที่คนธรรมดาไม่นิยมบริโภคก็ได้ ความหิวของคนตั้งครรภ์ยังเป็นการทำนายทารกที่จะเกิดได้ว่าดีหรือไม่ดี  ความหิวมีอิทธิพลต่อการพัฒนาตนเองและสามารถเป็นอันตรายต่อผู้อื่นรวมถึงสัตว์และธรรมชาติด้วย

           การบำบัดความหิวคือการบริโภค ตามแนวทางในพระพุทธศาสนาเถรวาทเมื่อจำแนกแล้วมีกระบวนการตั้งแต่การแสวงหาปัจจัยคืออาหารที่นำมาบำบัด การนำพุทธจริยวัตรของพระพุทธองค์มาเป็นแบบอย่าง เช่น การฉันมื้อเดียว  หลักธรรมวินัยเป็นเครื่องมือในการบำบัดคือ ให้มีสติสัมปชัญญะ ไม่ให้มัวเมาเพลิดเพลินในทางสนองตัณหา แต่มุ่งการบริโภคเพื่อบำบัดความหิว มุ่งหมายให้ได้คุณค่าที่แท้ของการบริโภค  ผู้บริโภคอย่างมีสติพิจารณาทั้งขณะได้รับอาหาร ขณะบริโภคและหลังบริโภค รู้ประมาณในการบริโภค เป็นผู้สันโดษตามที่ได้ จัดว่ายอดเยี่ยมกว่าการบริโภคทุกรูปแบบ   

                 การบำบัดความหิวตามหลักการในพระพุทธศาสนายังทรงความมีอิทธิพลและคุณค่า สำหรับตัวบุคคลผู้ปฏิบัติตามหลัก จะเป็นผู้มีโรคน้อย มีสุขภาพดี สามารถพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขาได้เป็นอย่างดี เพราะมีการบำบัดความหิวนี้จึงมีการสงเคราะห์สถานสงเคราะห์ เกิดความสัมพันธ์กันในสังคมอย่างแพร่หลาย และหลักการนี้ยังเป็นลดการทำลายและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลักการนี้ยังถูกนำมาใช้และสอนกันอยู่ในสังคมไทยอย่างแพร่หลาย

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕