หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระชัยพร จนฺทวํโส (จันทวงษ์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๒ ครั้ง
ศึกษาศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ชื่อผู้วิจัย : พระชัยพร จนฺทวํโส (จันทวงษ์) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุรชัย วราสโภ ป.ธ.๗, พธ.บ., M.A., Ph.D.
  พระศรีสุธรรมมุนี ป.ธ.๘, ศน.บ.
  ผศ.เวทย์ บรรณกรกุล ป.ธ.๙, พธ.บ., ศษ.ม.
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                      วิทยานิพนธ์  เรื่อง  ศึกษาศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการคือ เพื่อศึกษาศรัทธาที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท                   และ เพื่อศึกษาศรัทธาในการเจริญวิปัสสนาภาวนาโดยวิธีศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก  อรรถกถา  ฎีกา  คัมภีร์วิสุทธิมรรค และตำราวิปัสสนาที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ สรุปเขียนบรรยายในเชิงพรรณนา และตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ

                      ผลการวิจัยพบว่า  ศรัทธาตามรูปศัพท์  หมายถึง ความเชื่อ ในทางพระพุทธศาสนาเป็นศรัทธาที่แตกต่างจากศรัทธาในความหมายโดยทั่วไป ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทได้แสดงศรัทธาไว้ ๒ ประการ คือ ศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา กับ ศรัทธาที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา

                      ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา ศรัทธาหมายถึง อธิโมกข์  ที่เป็นทางผ่านของผู้ได้เริ่มเข้าสู่วิปัสสนาญาณ  เมื่อเกิดปัญญาหยั่งรู้ในรูปนามที่มีความแปลกประหลาดอัศจรรย์ เช่น แสงสว่าง ญาณรู้ มีสติคมชัด มีปีติ มีความเพียรเป็นพิเศษ มีความตั้งมั่น ความสุข ความวางเฉย ความยินดี ในสภาวธรรมต่างๆ ก็ปักใจเชื่ออย่างแรงกล้า เพราะไม่เคยพบเจอในสภาวะต่างๆ ดังกล่าว ความจริงศรัทธา กับ อธิโมกข์ความแตกต่างกันโดยองค์ธรรมคือ ตัวหนึ่งเป็นสัทธาเจตสิก  อีกตัวหนึ่งเป็นอธิโมกข์ หมายความว่า ศรัทธา มีลักษณะผ่องใสดังกล่าว เป็นสภาวะที่เชื่อมั่นในคุณงามความดีทุกอย่าง เพราะเป็นศรัทธาที่อยู่ในกลุ่มของเจตสิกที่ดีงาม คือ มีความเชื่อในศีล สมาธิ และปัญญา  ความสำคัญของศรัทธาคือการพัฒนาไปสู่ความพ้นทุกข์ ได้แก่ เป็นพระอริยะบุคคลระดับพระโสดาบัน ตัวอย่างเช่น ศรัทธานุสารีบุคคล ผู้แล่นไปตามศรัทธา และศรัทธาวิมุต ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา เพราะเข้าใจอริยสัจได้ถูกต้อง  จึงเห็นว่าศรัทธาทั้งหมดล้วน มีปัญญาคอยประคับประคองเอาไว้เพื่อไม่ให้หลุดออกไปนอกกรอบของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะศรัทธาในพระรัตนตรัย

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕