หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระโกศล มณิรตนา (ญึม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๑ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมือง บางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
ชื่อผู้วิจัย : พระโกศล มณิรตนา (ญึม) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol.Sc.)
  อาจารย์พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ประโยค ๑ - ๒,น.ธ.เอก, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ ๑), ศศ.ม. (พัฒนาสังคม)
  ผศ. ดร. วรกฤต เถื่อนช้าง, ป.ธ.๙., ศษ.บ., ศศ.ม., ปร.ด (การบริหารอุดมศึกษา)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองบางมูลนาก เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองบางมูลนากโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองบางมูลนาก  การดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๘๓ คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม

ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติ ดังนี้

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

สถิติที่ใช้คือ การทดสอบค่าที   (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheff’) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

 

 

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

๑.  การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า  อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนพัฒนาชุมชน      ด้านการดำเนินงานพัฒนาชุมชน ด้านการติดตามตรวจสอบ และด้านการประเมินผล  ตามลำดับ

๒. เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองบางมูลนากโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และ รายได้ต่อเดือน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า  ปัจจัยที่ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑  ซึ่งตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ได้แก่ อายุ, สถานภาพ  และ ระดับการศึกษา  ส่วนปัจจัยที่ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน  จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้    ได้แก่ เพศ, อาชีพ  และรายได้ต่อเดือน

๓. ปัญหาอุปสรรค การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของเทศบาลเมืองบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร พบว่า ประชาชนไม่มีความรู้ความเข้าใจ และไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ประชาชนไม่ให้ความรวมมือ       ไม่ทราบข้อมูลข่าวสาร ไม่มีเวลา ขาดแรงจูงใจ  ขาดการประชาสัมพันธ์  และ ขาดเงินทุนในการดำเนินการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน  และประชาชนคิดว่าเป็นเรื่องหน้าที่ของหน่วยงานของเทศบาล

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕