หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวชญานิศฐ์รักแจ้ง
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๙ ครั้ง
การให้บริการของสำนักงานประกันสังคมตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ตามทัศนะของผู้ประกันตนเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวชญานิศฐ์รักแจ้ง ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Pol.Sc.)
  อาจารย์พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ประโยค ๑ - ๒,น.ธ.เอก, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ ๑), ศศ.ม. (พัฒนาสังคม)
  น.อ.ดร.นภัทร์ แก้วนาค ศศบ.,ศศ.ม(การจัดการ),กศ.ด. (การวิจัยและ พัฒนาหลักสูตร),วทอ.
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

              การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ(๑)เพื่อศึกษาการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ตามทัศนะของผู้ประกันตนเขตกรุงเทพมหานคร(๒)เพื่อเปรียบเทียบการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ตามทัศนะของผู้ประกันตนเขตกรุงเทพมหานคร  จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ(๓)เพื่อกำหนดแนวทางการนำหลักสังคหวัตถุ ๔ มาประยุกต์ใช้และพัฒนาการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมกับระบบงานประกันสังคมและประชาชน

              ดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจ.(Survey research).กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ผู้ประกันตนที่มาใช้บริการ ณ หน่วยงานสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที ๕ และสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ๑๐ จำนวน ๔๐๐ คนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามการนำหลักสังคหวัตถุ ๔ ไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ  ค่าความถี่ (Frequencies) ร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)และทดสอบสมมติฐานโดยเพื่อบรรยายข้อมูลสถานภาพส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสังคหวัตถุ ๔การทดสอบค่าที(t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ(F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

ผลการวิจัย พบว่า 

๑) การให้บริการของสำนักงานประกันสังคมตามหลักสังคหวัตถุ๔ ตามทัศนะของผู้ประกันตนเขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = ๓.๒๑)เมื่อพิจารณารายด้าน ได้แก่ ด้านทาน ด้านปิยวาจา ด้านอัตถจริยา และด้านสมานัตตา พบว่า ผู้ประกันตนมีทัศนะอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน

             ๒) เปรียบเทียบการให้บริการของสำนักงานปะกันสังคมตามหลักสังคหวัตถุ๔เขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาและจำนวนครั้งที่ใช้บริการ พบว่าผู้ประกันตนที่มีอาชีพต่างกันมีทัศนะต่อการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมตามหลักสังคหวัตถุ๔ เขตกรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ส่วนผู้ประกันตนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และจำนวนครั้งที่ใช้บริการ ต่างกัน มีทัศนะต่อการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมตามหลักสังคหวัตถุ๔ เขตกรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน

              ๓) ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะพร้อมกำหนดแนวทางการนำหลักสังคหวัตถุ ๔ มาประยุกต์ใช้กับงานบริการของสำนักงานประกันสังคมดังนี้

                    (๑) ปัญหาและอุปสรรค งานการบริการของสำนักงานประกันสังคม คือ เจ้าหน้าที่ขาดความเต็มใจในการให้บริการ ทำตามหน้าที่ มากกว่าทำด้วยใจ ความช่วยเหลือแนะนำให้ความรู้ไม่ชัดเจน ไม่กระจ่าง ทำให้ผู้ประกันตนขาดความรู้ ความเข้าใจในงานบริการประกันสังคมและมีเจ้าหน้าที่ในงานการให้บริการไม่เพียงพอต่อความต้องการ ขาดความรู้ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ถึงแม้จะมีจุดประชาสัมพันธ์ การไปติดต่อกับประกันสังคมตามเขตพื้นที่ ก็ขาดการประสานงานกัน ต้องใช้เวลาไปติดต่อมาก

                    (๒) ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่งานด้านงานบริการอยู่เสมอ ให้มีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถ ในงานบริการของสำนักงานประกันสังคมเป็นอย่างดี  ควรรับฟังปัญหาและหาแนวทางแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว เพื่อลดขั้นตอนการให้บริการรวมถึงเอกสารต่าง ๆ ให้สะดวกมากขึ้นและควรสร้างจิตสำนึกในด้านการบริการให้อยู่เสมอ

                    (๓) แนวทางการนำหลักสังคหวัตถุ ๔ มาประยุกต์ใช้กับงานบริการของสำนักงานประกันสังคม คือ ทาน การให้บริการด้วยความเสียสละ ให้ความรู้ความเข้าใจและขั้นตอนรวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนหรือผู้ประกันตนที่มาใช้บริการที่สำนักงานประกันสังคม ปิยวาจา การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ น่าฟัง มีอัศธยาศัยดี มีมิตรไมตรีต่อผู้ประกันตน เจ้าหน้าที่ต้องยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาต้องสุภาพ อัตถจริยา การทำตนให้เป็นประโยชน์ โดยปรับมุมมองของเจ้าหน้าที่ว่าผู้ประกันตนเปรียบเสมือนญาติของตน  สมานัตตา การวางตนเสมอต้นเสมอปลาย การให้บริการด้วยความเสมอภาคและยุติธรรม

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕