หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายโอวาท สุธาวา
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๙ ครั้ง
กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของเครือบีโปร บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด (เอไอเอ)
ชื่อผู้วิจัย : นายโอวาท สุธาวา ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อาจารย์ ดร.พิเชฐ ทั่งโต พ.ม.ช., พธ.บ.,MA.,Ph.D.(Pub.Admin.)
  อาจารย์พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ประโยค ๑ - ๒,น.ธ.เอก, พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ ๑), ศศ.ม. (พัฒนาสังคม)
  อาจารย์วันชัย สุขตาม ประโยค ๑-๒,พธ.บ.(เกียรตินิยมอันดับ ๑), ศศ.บ., รป.ม.(การจัดการทุนมนุษย์)
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๕
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเครือบีโปร บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด (เอไอเอ)                      (๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของเครือบีโปร บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด (เอไอเอ) โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  และ(๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนากระบวนการทรัพยากรมนุษย์ ของเครือบีโปร  บริษัทอเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด (เอไอเอ)

ดำเนินการโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงาน/เลขาหน่วย ตัวแทนประกันชีวิต และผู้บริหารหน่วย โดยใช้การสุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของ เครซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan)  ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๑๙๖ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ตอน คือ ตอนที่ ๑ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม  ตอนที่ ๒ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นต่อกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ตอนที่ ๓ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๗๓ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน      การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

๑. พนักงานมีความคิดเห็นต่อกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของเครือบีโปร       บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด (เอไอเอ) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ย .๔๐ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ ๒ การวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และด้านที่ ๓ การดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เครือบีโปรมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเหมาะสมตามฐานของตนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ส่วนด้านที่ ๑ การประเมินความจำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และด้านที่ ๒ การประเมินผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมาก

๒. ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงาน ต่อกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของเครือบีโร บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด (เอไอเอ)         โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า พนักงานที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด (เอไอเอ) ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนพนักงานที่มีอายุ การศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน ตำแหน่ง และอาชีพแตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓. ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ คือ ปัญหาของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของเครือบีโปร บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด (เอไอเอ) โดยส่วนมากจะเกิดกับด้านการประเมินความจำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งหน่วยงานยังขาดการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลก่อนดำเนินการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และยังขาดการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล และปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อใช้ประกอบการวางแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นระบบ ในทางเสนอแนะคือ หน่วยงานต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และต้องให้ความสำคัญต่อการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลให้ชัดเจนก่อนการดำเนินการพัฒนา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงจะสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ และในด้านการประเมินผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น หน่วยงานยังขาดการประเมินผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ชัดเจน ขาดบุคลากรผู้ดูแลในการติดตามตรวจสอบการประเมินผลโดยเฉพาะ และพนักงานไม่มีส่วนร่วมต่อการประเมินผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของหน่วยงาน ในทางแก้ไขคือ หน่วยงานควรมอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งรับผิดชอบในการประเมินผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างชัดเจน และควรเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบอย่างเปิดเผย ส่วนด้านการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และด้านการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เห็นว่าหน่วยงานอาจจะดำเนินงานขาดตกบกพร่องอยู่บ้าง แต่ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมตามฐานของตนเป็นที่พอใจของพนักงานโดยส่วนรวม

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕