หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ (ไสว โชติโก) และ คณะ
 
เข้าชม : ๕๐๘ ครั้ง
การศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ (ไสว โชติโก) และ คณะ ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๕/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

                        การศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นนี้ มีผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                      ๑พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านทางประเทศจีน และประเทศเกาหลี ในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นชื่อ นิฮอนโชกิ ได้บันทึกไว้ว่า พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.. ๑๐๙๕ เป็นปีที่ ๑๓ ในรัชกาลพระเจ้าจักรพรรดิกิมเมอิ พระองค์ที่ ๒๙ ของญี่ปุ่น

                      ๒. พระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นทุกนิกาย โดยภาพรวมทุกนิกายมีความเชื่อที่ตรงกันว่า มนุษย์ทุกคนสามารถบรรลุธรรม หรือตรัสรู้ได้ โดยการปฏิบัติตนตามหลักความเชื่อของนิกายให้ความสำคัญกับมิติภายในจิตใจและความศรัทธา รวมทั้งมุ่งเน้นการพึ่งตนเองมากว่าการพึ่งพาอิทธิพลจากภายนอก และมีการจัดโครงสร้างและระเบียบองค์กรที่เป็นระบบ มีการวิจัยในประเด็นต่างๆ ตามความสนใจของพระสงฆ์ผู้วิจัย มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับประชาชนในลักษณะต่างๆ เผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยเน้นการปฏิบัติเป็นหลักโดยเฉพาะการปฏิบัติกรรมฐานในรูปแบบที่เหมาะสมกับประชาชนแต่ละกลุ่ม ทำให้ประชาชนญี่ปุ่นนำพระพุทธศาสนามาใช้สำหรับการดำเนินชีวิต

                       ๓.    ลักษณะเด่นและประเด็นร่วมสมัยของพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นเป็นดังนี้ คือนิกายฮอสโส  ถือว่าไม่มีสิ่งใดอยู่นอกเหนือภาวะจิต  การสร้างสรรค์เกิดจากจิต  นิกายเคงอน  ถือว่าศรัทธายึดมั่นในอานุภาพของพระพุทธเจ้า  ความสะดวกในการปฏิบัติ  นิกายเทนได  ถือว่าสรรพสิ่งทั้งมวลล้วนมีพุทธภาวะอยู่ในตน  ทุกคนสามารถตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  นิกายชินงอน ถือว่าความดีความชั่วเป็นของตัวเอง  จะบรรลุความดีได้ด้วยอำนาจการบำเพ็ญเพียรของตนพึ่งพาอำนาจจากภายนอกไม่ได้ นิกายเซน  ถือว่าไม่มีสิ่งใดที่จะพึงยึดถือเป็นที่พึ่งได้นอกจากตัวเอง ทุกคนสามารถเข้าถึงพุทธภาวะด้วยการฝึกปฏิบัติกรรมฐานด้วยตนเอง นิกายโจโดชิน หรือสุขาวดี  ถือว่าสุขาวดีเป็นแดนอมตะสุข  บรรลุได้ด้วยการบริกรรม “นะโม  อมิตตา  พุทธะ”  นิกายนิชิเรน ถือว่าจิตเป็นสมาธิอันแน่วแน่จะรวมเป็นหนึ่งเดียวและตรัสรู้ได้  นิกายยูซุเนมบุตสุ ถือว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีพุทธะในตนและมนุษย์มีชีวิตอันเกษมได้ด้วยพระกรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕