หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูวิมลธรรมรังสี และคณะ
 
เข้าชม : ๔๘๙ ครั้ง
การสอบอารมณ์วิปัสสนากัมมัฏฐานของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ชื่อผู้วิจัย : พระครูวิมลธรรมรังสี และคณะ ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๑๑/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

ผู้วิจัย : พระครูวิมลธรรมรังสี ,ดร.พระมหาบาง เขมานนฺโท และพระมหาวิชาญ สุวิชาโน


                                          บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบสอบอารมณ์กัมมัฏฐานของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔  เพื่อเปรียบเทียบอารมณ์กัมมัฏฐานระหว่างก่อนและหลังปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน  และ เพื่อเปรียบเทียบอารมณ์กัมมัฏฐานจากการประเมินตนเองของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานกับอารมณ์กัมมัฏฐานจากการสอบอารมณ์ของพระวิปัสสนาจารย์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
           ๑.ประเด็นคำถามที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการสอบอารมณ์กัมมัฏฐานมีจำนวน ๔๖ ข้อ ดัชนีวัดความสอดคล้องระหว่างประเด็นคำถามกับเนื้อหาที่ต้องการจะวัด (IOC) มีค่าอยู่ในช่วง ๐.๗๖ - ๑.๐๐  ดัชนีวัดอำนาจจำแนกของแบบสอบอารมณ์กัมมัฏฐานมีค่าอยู่ในช่วง ๐.๔๖ - ๐.๗๖ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach ของแบบสอบอารมณ์กัมมัฏฐานทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ ๐.๙๖  เนื่องจากดัชนี IOC, ดัชนีวัดอำนาจจำแนก และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach ค่าสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ ดังนั้น แบบสอบอารมณ์กัมมัฏฐานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจึงเป็นแบบสอบที่มีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือสูง 
           
         ๒. ผลการเปรียบเทียบอารมณ์กัมมัฏฐานก่อนและหลังการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน พบว่าอารมณ์กัมมัฏฐานด้านกายานุปัสสนาสติปัฏฐานหลังปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าอารมณ์กัมมัฏฐานก่อนปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ ๐.๐๕ (t = ๘.๑๑, P = ๐.๐๐) อารมณ์กัมมัฏฐานด้านเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานหลังปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าอารมณ์กัมมัฏฐานก่อนปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ ๐.๐๕             (t = ๔.๖๓, P = ๐.๐๐)  อารมณ์กัมมัฏฐานด้านจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานหลังปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าอารมณ์กัมมัฏฐานก่อนปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ ๐.๐๕  (t = ๖.๙๐, P = ๐.๐๐)  อารมณ์กัมมัฏฐานด้านธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานหลังปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าอารมณ์กัมมัฏฐานก่อนปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ ๐.๐๕  (t =  ๔.๘๗, P = ๐.๐๐)     
        
        ๓. ผลการเปรียบเทียบคะแนนสอบอารมณ์กัมมัฏฐานจากการประเมินตนเองของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานกับคะแนนที่ได้จากการสอบอารมณ์โดยพระวิปัสสนาจารย์ พบว่า  คะแนนสอบอารมณ์กัมมัฏฐานด้านกายานุปัสสนาสติปัฏฐานที่ได้จากการประเมินตนเองของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานกับคะแนนสอบอารมณ์กัมมัฏฐานที่ได้จากการประเมินโดยพระวิปัสสนาจารย์ มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ ๐.๐๕  (t = -๐.๐๓, P = ๐.๙๖)   คะแนนสอบอารมณ์กัมมัฏฐานด้านเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานที่ได้จากการประเมินตนเองของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานกับคะแนนสอบอารมณ์กัมมัฏฐานที่ได้จากการประเมินโดยพระวิปัสสนาจารย์ มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่ากันที่ระดับนัยสำคัญ ๐.๐๕  (t = ๐.๐๔ , P = ๐.๙๖) คะแนนสอบอารมณ์กัมมัฏฐานด้านจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานที่ได้จากการประเมินตนเองของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานกับคะแนนสอบอารมณ์กัมมัฏฐานที่ได้จากการประเมินโดยพระวิปัสสนาจารย์ มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ ๐.๐๕ (t = ๐.๑๔ , P = ๐.๘๘)  คะแนนสอบอารมณ์กัมมัฏฐานด้านธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานที่ได้จากการประเมินตนเองของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานกับคะแนนสอบอารมณ์กัมมัฏฐานที่ได้จากการประเมินโดยพระวิปัสสนาจารย์ มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ ๐.๐๕ (t = -๐.๐๕, P = ๐.๙๘)


 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕