หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาพวน ขนฺติธโร และ นายพีรพงษ์ มาลา
 
เข้าชม : ๔๘๑ ครั้ง
การวิเคราะห์เปรียบเทียบเวทนาในทัศนะของท่านพุทธทาสภิกขุกับนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาพวน ขนฺติธโร และ นายพีรพงษ์ มาลา ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๑๑/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

               การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์เปรียบเทียบเวทนาในทัศนะของท่านพุทธทาสภิกขุ กับนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา นี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาความหมายของเวทนา ในทัศนะของท่านพุทธทาสภิกขุ ๒) เพื่อศึกษาความหมายของเวทนาในทัศนะของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) และ ๓) เพื่อเปรียบเทียบเวทนาตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุกับพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

       ผลจากการวิจัยพบว่า     
      ๑.  เวทนาในแนวความคิดท่านพุทธทาสภิกขุ  ท่านเป็นอิสระในการให้ความหมายของเวทนา ไม่ขึ้นกับหลักการในคัมภีร์ ท่านคิดวิเคราะห์โดยถือนัยจากคัมภีร์แล้ววิเคราะห์เชิงประยุกต์    
        เวทนา เป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต หมายถึงสิ่งที่ประจักษ์แก่ความรู้สึก คือมูลต้นซึ่งเป็นปัจจัยเหตุให้เกิดตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา ในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท
        สรุปว่ามนุษย์ในยุคปัจจุบัน ไม่รู้จักสิ่งนี้ว่าน่ากลัว คือเวทนา  แต่กลับไปกลัวจน  กลัวไม่มีเกียรติ ไม่มีศักดิ์ศรี เพราะฉะนั้น ก็ก่อความเดือดร้อน สร้างความขัดแย้ง แย่งชิงผลประโยชน์กัน     
        ๒.  เวทนาในแนวคิดพระพรหมคุณาภรณ์  หลักธรรมต่าง ๆ ท่านนำเสนอตามหลักการจากคัมภีร์เป็นลักษณะนำเสนอให้ผู้ศึกษาใช้วิจารณญาณ    
        เวทนา คือการเสวยอารมณ์ หรือประสบการณ์ทั้งหลาย อายตนะเป็นแหล่งที่มาของความสุข ความทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายแห่งการดำเนินชีวิตทั่วไป  ต้องเจอรสขื่นขมด้วย  
        ประเด็นที่ต่างกัน พุทธทาสภิกขุมีแนวความคิดที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับหลักการในคัมภีร์   ท่านคิดวิเคราะห์โดยถือนัยจากคัมภีร์แล้ววิเคราะห์เชิงประยุกต์ ด้านคำสอนพุทธทาสภิกขุ ที่เด่นเป็นสำคัญเฉพาะตัวของพุทธทาสภิกขุหมายถึงคำสอนอย่างเช่นคำว่า “ตัวกู ของกู” หรือคำว่า “จิตว่าง หรือคำว่า “นิพพานที่นี้เดี๋ยวนี้” และนอกเหนือจากนี้ท่านยังตีความเรื่องนิพพานว่าเป็นสภาพความพ้นทุกข์ทางใจซึ่งสามารถถึงได้แม้แต่ที่นี้และเดี๋ยวนี้ ส่วนพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) คำสอนของท่านมุ่งเน้นแสดงในขอบเขตว่าพุทธธรรมสอนว่าอย่างไรมีเนื้อหาอย่างไรเท่านั้น ด้วยความแม่นยำในพระคัมภีร์ของท่าน ท่านเป็นเสมือน “พระไตรปิฎกที่มีชีวิต” คอยทำหน้าที่ตรวจสอบสำนักพุทธศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทยว่าคำสอนเหล่านั้นถูกต้องตรงกับที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกหรือไม่ถ้าหากเห็นว่าคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับที่บัญญัติไว้ในพระไตรปิฎก ท่านก็จะท้วงติงอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา  
        ประเด็นที่เหมือนกัน สำนักแห่ง “ปัญญา” พุทธทาสภิกขุและพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) มีแนวคำสอนอันเป็นตัวแทนของ “ปัญญา” ในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทของไทยนั้น ที่เด่นและสำคัญได้แก่คำสอนของพุทธทาสภิกขุและคำสอนของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธทาสภิกขุได้ทำการเผยแผ่พุทธศาสนาและสร้างสรรค์ผลงานอันยิ่งใหญ่ งานเผยแผ่พุทธศาสนาในชุด “ธรรมโฆษณ์” พระพรหมคุณาภรณ์ ท่านมีงานเผยแผ่พุทธศาสนาเป็นผลงานที่โดดเด่นและสร้างสรรค์ด้วยการเขียนหนังสือ “พุทธธรรม” ซึ่งได้รับยกย่องจากวงการพุทธศาสนาว่าเป็น “เพชรน้ำเอก” เป็นหนังสือที่มีคุณค่ายิ่งมุ่งแสดงพุทธธรรมให้ถูกต้องที่สุดที่พระพุทธเจ้าทรงสอน โดยยึดแหล่งที่มาจากพระไตรปิฎกบาลี ซึ่งเป็นยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า เป็นแหล่งรวบรวมรักษาพุทธธรรมที่แม่นยำและสมบูรณ์ที่สุด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕